วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ฝากรูปหน่อยนะ

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต

http://www.google.co.th/cse" id="cse-search-box">

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
ประเภทใบอนุญาตวิทยุคมนาคม ค่าธรรมเนียม (บาท / ฉบับ)

1. ใบอนุญาตให้ทำเครื่องวิทยุคมนาคม
(ก) เพื่อการศึกษา 100
(ข) เพื่อการอื่น 200

2. ใบอนุญาตให้มีเครื่องวิทยุคมนาคม 200

3. ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม 500

4. ใบอนุญาตให้นำเข้าซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม 200

5. ใบอนุญาตให้นำออกซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม 100

6. ใบอนุญาตให้ค้าเครื่องวิทยุคมนาคม 1,000

7. ใบอนุญาตให้ซ่อมแซมเครื่องวิทยุคมนาคม 500

8.ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
(ก) กำลังส่งไม่เกิน 500 มิลลิวัตต์ 125
(ข) กำลังส่งเกิน 500 มิลลิวัตต์ แต่ไม่เกิน 1 วัตต์ 250
(ค) กำลังส่งเกิน 1 วัตต์ แต่ไม่เกิน 5 วัตต์ 500
(ง) กำลังส่งเกิน 5 วัตต์ แต่ไม่เกิน 10 วัตต์ 1,000
(จ) กำลังส่งเกิน 10 วัตต์ แต่ไม่เกิน 100 วัตต์ 1,500
(ฉ) กำลังส่งเกิน 100 วัตต์ แต่ไม่เกิน 500 วัตต์ 2,000
(ช) กำลังส่งเกิน 500 วัตต์ แต่ไม่เกิน 1 กิโลวัตต์ 3,000
(ซ) กำลังส่งเกิน 1 กิโลวัตต์ แต่ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ 5,000
(ฌ) กำลังส่งเกิน 5 กิโลวัตต์ 10,000

9. ใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคม 200

10. ใบอนุญาตให้รับข่าววิทยุคมนาคมต่างประเทศเพื่อการโฆษณา 200

11. ใบแทนใบอนุญาต 100

กรณีผู้ขอรับใบอนุญาต เป็นข้าราชการ และได้จัดหาเครื่องวิทยุคมนาคมส่วนตัว มาใช้ในกิจการของส่วนราชการ ซึ่งตนสังกัดเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน

1. ใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม 100

2. ใบอนุญาตให้ตั้งสถานีวิทยุคมนาคม
(ก) กำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ 200
(ข) กำลังส่งเกิน 10 วัตต์ แต่ไม่เกิน 100 วัตต์ 300
(ค) กำลังส่งเกิน 100 วัตต์ แต่ไม่เกิน 500 วัตต์ 400
(ง) กำลังส่งเกิน 500 วัตต์ แต่ไม่เกิน 1 กิโลวัตต์วัตต์ 600
(จ) กำลังส่งเกิน 1 กิโลวัตต์ แต่ไม่เกิน 5 กิโลวัตต์ 1,000
(ฉ) กำลังส่งเกิน 5 กิโลวัตต์ 2,000

3. ใบอนุญาตพนักงานวิทยุคมนาคม 40

4. ใบแทนใบอนุญาต 20

หมายเหตุ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทุกประเภท จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7 เปอร์เซ็นต์

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประกาศ



ขอเชิญท่านที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกชมรมวีอาร์ส.สัมพันธ์บ้านนาเดิมครับ หรือจะร่วมทดสอบสัญญาณที่ 144.150Mhz ครับ ขอบคุณครับ QRU 88 73 ครับ

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

ตารางอบรมสอบวิทยุสมัครเล่น

ตารางการจัดอบรมและสอบฯ ประจำปีพ.ศ.2552 Update 18/03/52

ยอดรับสมัครจังหวัดละไม่เกิน 500 คนครับ
1.เชียงใหม่
17 ม.ค. 2552 โทร.084-6165832 , 053-853025
2.ชลบุรี อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
7 ก.พ. 2552 โทร.038-249162-3 , 081-7814360
3.สุรินทร์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
28 ก.พ. 2552 โทร.081-7603266 , 081-8781212
4.ตราด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
21 มี.ค. 2552 โทร.039-520308 , 087-1441411
5.เลย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
4 เม.ย. 2552 โทร.042-811955
6.ฉะเชิงเทรา 2 วันๆละ 500 คน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
25-26 เม.ย. 2552 โทร.038-541145
7.อุดรธานี
16 พ.ค. 2552 โทร.089-7105555
8.มุกดาหาร
6 มิ.ย. 2552 โทร.081-4712168
9.สุพรรณบุรี
27 มิ.ย. 2552 โทร.081-6426394 , 086-8081746
10.ชุมพร 2 วันๆละ 500 คน
18 ก.ค. 2552 และ 19 ก.ค. 2552 โทร.077-501199
11.นครศรีธรรมราช
8 ส.ค. 2552 โทร.075-312155 , 081-9562053
12.พิษณุโลก
29 ส.ค. 2552 โทร.086-2083969 , 084-6207345
13.สมุทรปราการ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่
19 ก.ย. 2552 โทร.081-8301556 , 089-8222384
14.นครราชสีมา
10 ต.ค. 2552 โทร.081-7902518 , 089-4282941
15.ภูเก็ต
31 ต.ค. 2552 โทร.076-354860
16.ขอนแก่น
21 พ.ย. 2552 โทร.043-241482 , 089-4177768
17.สุราษฎร์ธานี
12 ธ.ค. 2552 โทร.077-204551

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.100watts.com

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ค้นหาเมืองของพระเจ้าอโศกมหาราช

มาช่วยกันค้นหาเมือง “ระแวก” ของพระเจ้าอโศกมหาราช
โดย
คุณเอกอิสโร ศรีวรุณ
มูลเหตุแห่งความสงสัย
หลังจากได้อ่าน “พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก” ฉบับชำระสะสาง กัณฑ์ที่ ๒ มีความตอนหนึ่งที่กล่าวว่า ..
พระพุทธองค์เสด็จจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายตามลำดับนิคมราชธานี จนเสด็จบรรลุถึงเมืองระแวกอันควร
เป็นศาสนสักขี คือ เป็นที่ตั้งแห่งพระเจดีย์ธาตุ ๕ หลัง เพื่อเป็นเครื่องกำหนดอายุแห่งพระพุทธศาสนา ณ ที่นั้น พระ
พุทธองค์ได้ทรงมีพุทธฎีกาพยากรณ์ ไว้ว่า “…ดูราอานนท์ เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ พรรษา จะมี
พระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า “อโศกราช” เสวยราชในเมืองปาฏลีบุตร เป็นผู้มีเดชานุภาพแผ่ไปในชมพูทวีป
ทั้งมวล จะแบ่งแจก ธาตุแห่งตถาคตมาประดิษฐานก่อเป็นมหาเจดีย์ ๕ หลัง ให้เป็นที่บรรจุเกศาธาตุ ๕ องค์ ไว้เป็น
ที่สักการะบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย ตลอดถึงพระอินทร์ พระพรหม ครุฑ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ไอศวรทั้งหลาย
จักเป็นที่กำหนดหมายยังอายุแห่งพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ วัสสา เจดีย์ธาตุทั้ง ๕ หลังนี้แบ่งไว้ดังนี้ เจดีย์หลังที่ ๑
เป็นบรุพนิมิต แห่งพระพุทธศาสนาพันที่ ๑, หลังที่ ๒ เป็นอายุแห่งพระพุทธศาสนาพันที่ ๒, หลังที่ ๓ เป็นพันวัสสา
ที่ ๓, หลังที่ ๔ เป็นพันวัสสาที่ ๔ หลังที่ ๕ .. คือว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้วได้ ๑๐๐๐ พรรษาบริบูรณ์เจดีย์
หลังที่ ๑ ก็จะจมลงไปในวังน้ำอันเป็นที่อยู่ของพญานาค ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๒๐๐๐ พรรษา
บริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๒ ก็จักจมลงไปในน้ำ ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๓๐๐๐ ปีบริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๓ ก็
จะจมลง ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปได้ ๔๐๐๐ ปีบริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๔ ก็จมลง ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนา
ล่วงไปได้ ๕๐๐๐ ปีบริบูรณ์ เจดีย์หลังที่ ๕ ก็จะจมลงไป…”
(ที่มาของพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้มาจากการคัดลอกจาก “กระดานหินประดิษฐานอยู่ที่เมืองลังกาทวีป
ปัจจุบันสถานที่นั้นมีปรากฏชื่อว่า มหาเสลราม คือว่า วัดหลวงพระหิน” คัดลอกโดย พระมหาสามีธรรมรส ซึ่งพระ
เจ้าอนุรุธธรรมราช ซึ่งเสวยราชสมบัติที่หงสาวดีราชธานี ส่งพระสงฆ์ ๑๐๑ รูป ไปสืบค้นเมืองต่าง ๆ ที่
พระพุทธศาสนาได้เคยไปประดิษฐานไว้ โดยเดินทางไปลังกาเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๐๕๐
พรรษา)
ลักษณะของพระเจดีย์ตามตำนานที่บันทึกไว้
ใน “พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก” ฉบับชำระสะสาง กัณฑ์ที่ ๒ ต่อมา มีความตอนหนึ่งว่า “…หลังจาก
สมเด็จพระชินมารเสด็จดับขันข์ปรินิพพานไปแล้ว เป็นเวลานานถึง ๒๑๘ ปี จึงมีพระราชาองค์หนึ่งพระนามว่า
“ธรรมาโศกมหาราช” ได้ทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและพระชินธาตุให้รุ่งเรืองปรากฎทั่วไปทั่วชมพูทวีป และทรง
ทราบชัดว่า สถานที่อันมีอยู่ในเมืองละแวกนั้น เป็นอุดมสถานจักปรากฏเป็นที่รุ่งเรืองต่อไปถึง ๕๐๐๐ พระพรรษา
เช่นนั้น พระองค์จึงทรงมีพระราชอาชญามอบ พระราชวัตถุทั้งหลาย คือ เงิน ทองคำ แก้ว แหวน วัตถาภรณ์และ
เครื่องอลังการต่าง ๆ แก่มหาเสนาอำมาตย์พร้อมด้วยบริวาร มาประชุมปรึกษาก่อสร้างเจดีย์ ๕ หลัง เป็นที่บรรจุพระ
เกศาธาตุไว้แทนที่พระพุทธองค์ประทับนั่ง เพื่อเป็นที่กำหนดอายุพระพุทธศาสนา ให้รู้ว่า เป็นอดีต ปัจจุบันและ
อนาคต จนกระทั่งครบ ๕๐๐๐ พรรษา พระเจดีย์นี้ประดิษฐานอยู่ที่เวียงระแวก ที่พระเจ้าอโศกธรรมราชทรงให้
ปฏิสังขรณ์มั่นคงดีขึ้น เพื่อให้เป็นที่เฝ้ารักษาพระเกศาธาตุทั้ง ๕ องค์นั้น มิให้มีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้
พระมหาเจดีย์ธาตุทั้ง ๕ องค์นี้ จึงหุ้มด้วยแผ่นจังโกทองคำตั้งแต่ช่อฟ้าลงมาจรดถึงพื้นดินเหมือนกันทุกองค์ และ
พระมหาเจดีย์ ๕ องค์นั้น แต่ละองค์สูง ๖๐ วา วัดรอบฐานธรณีทั้ง ๔ ด้านได้ ๑๒๑ วา แต่ละด้านกว้าง ๓๐ วา ๑
ศอก ฐานธรณีก่อตั้งฉากลดหลั่นสูงขึ้นไป ๗ ชั้น กว้างชั้นละ ๓ ศอก นับแต่ขอบขึ้นถึงหน้าชานสูง ๓ วา ปั้นรูป
เทวดาไว้สี่มุมพระเจดีย์ทั้ง ๕ องค์ เทวดา ๒ องค์ถือหอยสังข์เป่าฟ้อนรำอยู่ เทวดาอีก ๒ องค์ประนมมือไหว้อยู่ใกล้
พระเจดีย์ ๑ วา ๑ ศอก ทุก ๆ องค์ พระเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นั้น ตั้งอยู่ห่างกันองค์ละ ๑๐ วาเท่า ๆ กัน…แล้วพระองค์ทรง
ให้สร้างปราการกำแพงเมืองอันมั่นคงยิ่งนัก ยาววัดได้ ๓๔๒๐ วา กว้าง ๒๐๔๐ วา ก่อด้วยหินทั้งสิ้น กำแพงหนา
ประมาณ ๗ วา สูง ๗ วา ขุดรากลึกลงไปในดิน ๙ วา แล้วขุดคูล้อมรอบ ๓ ชั้น คูแต่ละชั้นลึก ๒๐ วา กว้าง ๔๐ วา
…”
ความจากพงศาวดารเหตุการณ์ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑
ตั้งแต่นั้นมาอายุพระพุทธศาสนาล่วงเข้าสู่พันที่สาม จนกระทั่งมาถึงปีกัดไส้จุลศักราช ๙๓๑ อายุพระ
ศาสนาล่วงไปได้ ๒๑๑๒ พรรษา มีกษัตริย์องค์หนึ่งพระนามว่าฟ้ามหาธาเสวยราชย์ในเมืองหงสาวดีนคร ได้ยกจตุ
รงคเสนาโยธาเมืองได้อโยธยาและเมืองล้านช้าง ในกองทัพนั้นมีบัณฑิตผู้หนึ่งเป็นลูกของ แสนเชียงแลง เป็นผู้
ฉลาดมีปัญญารู้พินิจพิเคราะห์อย่างยิ่ง เมื่อกองทัพมาถึงเมืองระแวกได้หยุดทัพเพื่อให้พ้นฤดูฝนที่เมืองระแวกนั้น
บัณฑิตผู้นั้นได้เที่ยวตรวจตราดูบริเวณบ้านเมืองและได้สักการะบูชาพระมหาเกศาธาตุอันประเสริฐ ได้อ่านดูจาฤกษ์
ศาสตร์ (ศิลาจารึก) ที่พระยาอโศกธรรมราชและพระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้สลักไว้ที่แผ่นหิน รู้สึกอัศจรรย์ยิ่ง ก็
พิจารณากำหนดดูตามศิลาจารึก ก็ประดิษฐานแห่งพระมหาเจดีย์ธาตุทั้งมวล คือ รู้ว่า พระมหาเจดีย์ทั้ง ๕ องค์นั้น
ทรุดจมลงไปในน้ำลึกไปแล้ว ๒ องค์ ก็กำหนดได้ว่าพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้ว ๒๐๐๐ พรรษา และในปีกัดไส้จุล
ศักราช ๙๓๑ ปีที่บัณฑิตลูกแสนเชียงแลงลงมาพักอยู่ในเมืองระแวกนั้น เขาก็ได้เห็นพระมหาเจดีย์เกศาธาตุหลังที่ ๓
อันเป็นเครื่องกำหนดหมายอายุพระพุทธศาสนาพันที่สามก็ได้ทรุดจมลงไปในน้ำ คือฐานธรณีจมลงไปได้ชั้นหนึ่ง
ในปีนั้น…กล่าวถึงพระมหาเจดีย์เกสธาตุ ๕ องค์ ที่ประดิษฐานอยู่กลางเมืองระแวกอันมีในเขตด้าวเมืองอโยชิยาหวา
ราวัตตินคร ก็จบเป็นกัณฑ์หนึ่ง
สถานที่ที่สันนิษฐานว่าจะเป็นที่ตั้งของเมือง “ระแวก” ตามตำนานและพงศาวดาร
เมื่อได้อ่านจากตำนานและพงศาวดารแล้ว ข้าพเจ้าได้พยายามที่จะค้นหาที่ตั้งของเมือง “ระแวก” และเมื่อ
เช้าวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ นี้เอง ข้าพเจ้าก็ได้ข้อสันนิษฐานว่าที่ตั้งของเมือง “ระแวก” นั้น น่าจะอยู่ในพื้นที่
“จังหวัดกำแพงเพชร” ของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังจะมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้
เนื่องจาก ในชีวิตของข้าพเจ้า ยังไม่เคยได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดกำแพงเพชรเลย จึงได้แต่อ่านจาก คู่มือ
เที่ยวเมืองไทยของดวงกมลที่มีอยู่ในมือเท่านั้น ซึ่งทำให้ทราบถึงลักษณะของโบราณสถานในเขตจังหวัด
กำแพงเพชร ว่า
“…ตัวเมืองกำแพงเพชร ลักษณะเป็นกำแพงศิลาแลง สูงจากพื้นดินประมาณ ๕ เมตร มีป้อม ๑๐ ป้อม คู
เมืองกว้างประมาณ ๓๐ เมตร มีประตูเมือง ๑๐ ประตู ภายในกำแพงและบริเวณใกล้เคียง มีโบราณสถานที่น่าชม
หลายแห่ง…
วัดพระแก้ว เป็นวัดที่อยู่ในเขตกำแพงเมือง…ในบริเวณวัดเต็มไปด้วยต้นไม้ และต้นหญ้าสีเขียวขจีขึ้นสูง
จนมิดฐานเจดีย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะสร้างเป็นรูปทรงกลม ฐานสี่เหลี่ยมบ้าง แปดเหลี่ยม ตอนบนทรงกลมทรงรูป
ระฆัง ยอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ตรงกลางวัดมีวิหารร้าง มองเห็นยอดเสาศิลาแลง…
วัดพระนอน …จะพบเศษรูปสิงห์ปูนปั้นซึ่งขุดค้นได้วางอยู่หน้าโบสถ์ ฐานโบสถ์เป็นศิลาแลงยกพื้นสูง
๘๐ เซนติเมตร …เสาโบสถ์ทำด้วยศิลาแลงแท่งใหญ่ ๆ รูปแปดเหลี่ยม เสมาที่เหลือสลักเป็นรูปเทพพนมและอื่น ๆ
ประกอบลวดลายสวยงาม ด้านหลังโบสถ์เป็นพระวิหารพระนอน…
วัดพระสี่อริยาบถ …กำแพงวัดเป็นศิลาแลงปักล้อม ๔ ด้าน มีทางเข้าปูด้วยศิลาแลง…
วัดพระสิงห์ …ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ ๔ ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง ๑๑.๐๐ เมตร สี่เหลี่ยมมีเจดีย์ราย ๔ มุม
ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง ๑๕.๐๐ เมตร ยาว ๓๐.๐๐ เมตร …ด้านใต้มีวิหารใหญ่ ๑ วิหาร และขนาดย่อม
อีก ๑ วิหาร..
วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง ๓๑.๐๐ เมตร สี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็น
แต่ ๒ ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน ๖๘ เชือก….ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหาร
ใหญ่กว้าง ๑๗.๐๐ เมตร ยาว ๓๔.๐๐ เมตร ฐานสูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร วิหารเป็นเสา ๔ แถว ๗ ห้อง…
จากลักษณะดังได้กล่าวแล้ว จึงใคร่จะขอรบกวนท่านที่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดี ของ
“เมืองกำแพงเพชร” ช่วยให้ข้อมูล ถึงความเป็นไปได้ที่จะเชื่อมโยงกับ “เมืองระแวกของพระเจ้าอโศกมหาราช”
ตามที่ได้กล่าวถึงในตำนาน หรือหากท่านพบเห็นลักษณะของโบราณสถานที่แห่งใดในประเทศไทย ที่มีลักษณธ
สอดคล้องกับที่ได้กล่าวไว้ในตำนาน ก็ขอความกรุณาได้แจ้งรายละเอียดเข้ามาเพิ่มเติมด้วยนะครับ เพื่อประโยชน์ใน
การศึกษาเชิงลึกต่อไป.

ใฝ่ร้อน-นอนเย็น (ต่อ)

พ่อคุณเอ๋ย ดูให้ดี ที่ว่า"เย็น"
ให้ตรงเป็น ตามที่ท่าน อาจารย์สอน
การต่อสู้ ความชั่ว ทุกขั้นตอน
ใช้ความร้อน คือตบะ ปะทะมัน

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

ใฝ่ร้อน-นอนเย็น

โบราณว่า "ใฝ่ร้อน จะนอนเย็น"
คนทุกวัน ดันไปเห็น เป็นเรื่อง"บ้า"
จึงดูหมิ่น คำทอง ของปู่-ตา
ชอบเสวนา หลงเย็น ที่เป็นร้อน

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

สืบสานปณิธานท่านพุทธทาส (ต่อ)

คน ไม่ เห็น โลก.
เหตุฉะนี้ นี่แล ไม่เห็นโลก
มัวแต่หลง สุขหรือโศก อย่างผีสิง
จนกระทั่ง ตายไป ไม่เคยกริ่ง
ว่าทุกสิ่ง คืออะไร ไม่อยากดู ฯ