ลำดับ | เรื่อง |
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551
วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ชนิดของไดโอด
ไดโอดที่ทำจากสารกึ่งตัวนำแบ่งได้ตามชนิดของเนื้อสารที่ใช้ เช่น เป็นชนิดเยอรมันเนียม หรือเป็นชนิดซิลิกอน นอกจากนี้ไดโอดยังแบ่งตามลักษณะตามกรรมวิธีที่ผลิตคือ
1. ไดโอดชนิดจุดสัมผัส (Point-contact diode) ไดโอดชนิดนี้เกิดจากการนำสารเยอรมันเนียมชนิด N มาแล้วอัดสายเล็ก ๆ ซึ่งเป็นลวดพลาตินั่ม (Platinum) เส้นหนึ่งเข้าไปเรียกว่า หนวดแมว จากนั้นจึงให้กระแสค่าสูง ๆ ไหลผ่านรอยต่อระหว่างสายและผลึก จะทำให้เกิดสารชนิด P ขึ้นรอบ ๆ รอยสัมผัสในผลึกเยอรมันเนียมดังรูป
ไดโอดชนิดจุดสัมผัส
2. ไดโอดชนิดหัวต่อ P-N (P-N junction diode) เป็นไดโอดที่สร้างขึ้นจากการนำสารกึ่งตัวนำชนิด N มาแล้วแพร่อนุภาคอะตอมของสารบางชนิดเข้าไปในเนื้อสาร P ขึ้นบางส่วน แล้วจึงต่อขั้วออกใช้งาน ไดโอดชนิดนี้มีบทบาทในวงจรอิเลคทรอนิคส์ และมีที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
ไดโอดชนิดหัวต่อ P-N
ไดโอดที่ใช้ในวงจรมีสัญญลักษณ์ เป็นรูปลูกศรมีขีดขวางไว้ดังรูป
ตัวลูกศรเป็นสัญญลักษณ์แทนสารกึ่งตัวนำชนิด P ซึ่งเป็นขั้วอาโนด (ขั้วบวก) ของไดโอด ลูกศรจะชี้ในทิศทางที่โฮลเคลื่อนที่ ส่วนขีดคั่นเป็นสารกึ่งตัวนำชนิด N ซึ่งเป็นขั้วคาโถด (ขั้วลบ) ดังนั้นเราจะสามารถพิจารณาว่า ไดโอดถูกไบแอสตรงหรือไบแอสกลับได้ง่าย ๆ โดยพิจารณาดูว่าถ้าขั้วอาโนดมีศักดาไฟฟ้าเป็นบวกมากกว่าราคาโถดแล้ว ไดโอดจะถูกไบแอสตรง ถ้าขั้วอาโนดมีศักดาไฟฟ้าเป็นบวกน้อยกว่า คาโถดก็แสดงว่าไดโอดถูกไบแอสกลับ
ไบแอสตรง
ไบแอสกลับ
1. มีกระแสไหลผ่านไดโอด
2. ถือว่าไดโอดมีความต้านทานน้อยมาก
1. มีกระแสไหลผ่านไดโอด
2. ถือว่าไดโอดมีความต้านทานสูงมาก
3. โดยทั่วไปถือว่าไดโอดลัดวงจร
3. โดยทั่วไปถือว่าไดโอดเปิดวงจร
เปรียบเทียบลักษณะสมบัติของไดโอดเมื่อไบแอสตรงและไบแอสกลับ
ลักษณะสมบัติระหว่างแรงดันและกระแสของไดโอด
ผลของอุณหภูมิที่มีต่อไดโอด
ความต้านทานในตัวไดโอด
ซีเนอร์ไดโอด
ทันเนลไดโอด
ผลของทันเนล
ไดโอดเปล่งแสง
โฟโต้ไดโอด
ชนิดของสายนำ
สายนำสัญญาณสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. บาลานซ์ไลน์ (Balance line) คือ สานนำสัญญาณที่มีตัวนำ 2 เส้น ที่มีลักษณะเหมือนกัน วางขนานกัน โดยมีตัวกลางหรือไดอิเล็กทริก กั้นกลาง อาจจะเป็นอากาศก็ได้ เช่นสายแบบ โอเพ่นไวร์ (Open wire) ซึ่งจะมีฉนวนต่อขั้นเป็นระยะเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และคงลักษณะของการ ขนานไว้ อีกแบบ คือ สายริบบอน หรือ ทวินลีด ซึ่งมีอิมพแเดนซ์ 300 โอมห์ ที่เรานำมาใช้ต่อสายอากาศโทรทัศน์ ในสมัยก่อน เปลือกหุ้มของสายอากาศ แบบนี้ จะเป็นไดอิเล็กทริกไปในตัวด้วย
2. อันบาลานซ์ไลน์ (Unbalance line) คือ สายนำสัญญาณที่ตัวนำสองเส้นมีลักษณะต่างกัน หรือที่รู้จักกันดีในนามสายโคแอกเชียล (coaxial cale) นั่นเอง สายแบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน สายแบบบาลานซ์ไลน์ ด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า เช่น ป้องกันคลื่นวิทยุอื่นๆแทรกเข้ามาได้ดีกว่า ติดตั้งใกล้ๆ โลหะได้โดยไม่มีผลการสูญเสียคลื่นออกจากสาย
ค่าความเร็วของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณ (Velocity Factor) การเดินทางของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณนั้น เดินทางได้ช้ากว่าในบรรยากาศและช้ากว่าความเร็วแสงในบรรยากาศ ซึ่งค่าความเร็วของคลื่น วิทยุ ในสายนำสัญญาณมีค่าสัมพันธ์กับค่าคงที่ของวัสดุที่นำมาทำเป็นไดอิเล็กทริก ของสาย (dielectric constant) ค่าความเร็วนี้ได้มาจากอัตราส่วน ของความเร็วคลื่นในสายต่อความเร็วคลื่นในบรรยากาศ ซึ่งบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ ของควมเร็วแสงโดยทั่วไปแล้วค่าความเร้วของคลื่นในสายเราจะ เรียกว่า ตัวคูณความเร็วของสาย เช่น สายนำสัญญาณเบอร์ RG - 58A/U มีค่าตัวคูณความเร็ว 0.66 โดยปรกติใช้วิธีดูจากฉนวนภายในที่ใช้หุ้มสายอินเนอร์ ก็ได้ หากเป็นพลาสติกตัวคูณความเร็วในสายจะเท่ากับ 0.66 หากเป็นโฟมตัวคูณความเร็วในสายจะเท่ากับ0.80
ในตอนแรกนี้เราเรียนรู้พื้นฐานของสายนำสัญญาณและชนิดของสายนำสัญญาณมาพอสมควรแล้วตอนต่อไปจะเป็นการนำสายนำสัญญาณมา ประยุกต์ใช้งาน การตัดสายนำสัญญาณให้ลงแลมด้า ตามความถี่ที่ใช้งาน และการตัดสายนำสัญญาณเพื่อทำเฟสชิ่งไลน์ การตัดสายนำสัญญาณให้ลงแลมด้าเพื่อทำเฟสชิ่งไลน์ โดยปรกติเมื่อนำสายนำสัญญาณมาใช้งานตามปรกติ ค่าตัวคูณความเร็วของสายนำสัญญาณก็แทบ ไม่ต้องสนใจ แต่ถ้าใช้สายนำสัญญาณมา ต่อเพื่อขนานสายอากาศหลายๆ ต้นเข้าด้วยกัน เช่น สายอากาศแบบยากิหลายๆแสต็ก หรือ สายอากาศไดโพลหลายๆ ห่วง สายนำสัญญาณที่ถูกนำมาใช้ งานในลักษณะนี้เรียกว่า "เฟสชิ่งไลน์ (phasing line)" ซึ่งจะต้องคำนวนความยาวสายอากาศเทียบกับความยาวคลื่นโดยความยาวคลื่นหาได้จากสูตร
เมื่อ แลมด้า คือ ความยาวคลื่นมี หน่วยเป็นเมตร
f คือ ความถี่ที่ใช้งาน มีหน่วยเป็น MHz v คือ ความเร็วของคลื่นวิทยุในอากาศ
ค่าความยาวคลื่นที่ได้ออกมานี้ เมื่อนำมาใช้กับสายนำสัญญาณ หรือ สายเฟสชิ่งไลน์ จะเรียกว่าความยาวทางไฟฟ้า (electrical lengthซึ่งเมื่อ ต้องการตัดสายสายนำสัญญาณมาใช้งานจริงๆ จะต้องคูนค่าตัวคูณความเร็วของสายนำสัยญาณกับค่าความยาวทางไฟฟ้าก่อนค่าที่ได้ออกมาจึงคือค่า ความยาวจริงที่ใช้ในทางปฎิบัติ ตัวอย่าง เช่น ใช้สายนำสัยญาณเบอร์ RG-8 แบบโฟม มีค่าตังคูณความเร็ว 0.80 มาทำเฟสชิ่งไลน์ ยาวครึ่งความยาวคลื่นของความถี่ 150 MHz จะได้ความยาวทางไฟฟ้าเท่ากับ
(300/150) x (1/2) = 1 เมตร
และหาค่าความยาวจริง โดยการนำค่าตัวคูณความเร็วของสาย RG-8 มาคูณกับค่าความยาวทางไฟฟ้าจะได้ 1q
1 x 0.8 = 0.8 เมตร หรือ 80 เซนติเมตร
ก่อนจะตัดสินใจนำสายนำสัญญาณเบอร์ใดมาใช้งาน ก็จำเป็นต้องทราบค่าตัวคูณความเร็วของ สายนำสัญญาณเบอร์นั้นๆด้วย ลองมาดูตัวอย่าง การใช้งานจริงกันบ้าง เช่น ถ้าต้องการนำสายอากาศ ยากิ แบบ 5 อี 2 ต้นมาแสต็กเข้าด้วยกันจะต้องใช้สายเฟสชิ่งไลน์อิมพีแดนซ์ 75 โอมห์ ยาว 3/4 แลมด้า ในทางไฟฟ้า ต่อจากสายอากาศแต่ละต้นและนำปลายสายอีกด้านหนึ่งมาต่อขนานกัน อิมพีแดนซ์รวมที่จุดนี้ จะเป็น 50 โอมห์ และต่อสายนำสัญญาณ 50 โอมห์ จากจุดนี้ ไปยังเครื่อง รับ-ส่ง วิทยุ ซึ่งการต่อใช้งานสายในลักษณะนี้เพื่อจัดเฟสในระบบสายอากาศรวมหลายๆ ต้น หรือ เรียกว่าควอเตอร์เวฟทรานสฟอร์เมอร์ (quarter wave transformer)เราจะต้องกำหนดความยาวของสายเฟสชิ่งไลน์เป็นเศษส่วนของความ ยาวคลื่น แต่เศษ ต้องเป็นเลขคี่ เช่น 3/4 , 5/4 , 7/4 , 9/4 ส่วนจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับแบบของสายอากาศ ที่จะนำมาแสต็กกัน
วิธีการนี้มีหลักการมาจากสูตร
Zo คือ ค่าอิมพีแดนซ์ของสายนำสัยญาณที่นำมาใช้Zs คือ ค่าอิมพีแดนซ์ที่ต้องการ Zi คือ ค่าอิมพีแดนซ์ของสายอากาศ
ดังที่กล่าวมาแล้ว เราจะต้องทำสายอากาศแต่ละต้นให้มีอิมพีแดนซ์ 100 โอมห์ ก่อน เมื่อนำสองต้นมาต่อขนานกันอิมพีแดนซ์ก็จะลดลงเหลือ 50 โอมห์ พอดี เมื่อลองแทนค่า อิมพีแดนซ์ของสาย 75 โอมห์ ค่าอิมพีแดนซ์ที่ต้องการ คือ 100 โอมห์ เราจะได้ค่าอิมพีแดนซ์ของสายอากาศแต่ละต้นประมาณ 56 โอมห์ เมื่อต่อสายเฟสชิ่งไลน์เข้าไปจะได้อิมพีเแดน์รวมที่ปลายสายอีกด้านหนึ่งจะได้อิมพีแดนซ์ 100 โอมห์ทันทีเมื่อนำสายอากาศที่ต่อสายเฟสชิ่งไลน์แล้วสองต้น มาขนานกันก็จะได้ ค่าอิมพีแดนซ์ 50 โอมห์ เพื่อต่อสายนำสัญญาณเข้า เครืองวิทยุ รับ-ส่ง แต่ก่อนที่จะตัดสายนำสัญญาณจะต้องไม่ลืมคูณค่าความเร็ว ของสายนำสัญญาณเข้าไป
การเลือกใช้สายนำสัญญาณ
การเลือกใช้สายนำสัญญาณ ตอนที่ 1
ในระบบการรับส่งสัญญาณวิทยุนั้น สายนำสัญญาณ (transmission line) ก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่า สายอากาศเลย การเลือกใช้สายนำสัญญาณให้เหมาะสมกับงาน ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณได้มาก สานนำสัญญาณสามารถส่งผ่านกำลังของคลื่นวิทยุ จากเครื่องส่งไปยังสายอากาศ และนำสัญญาณที่รับได้จากสายอากาศ กลับมาที่เครื่องรับวิทยุ ดังนั้น สายอากาศจึงเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อเครื่องรับ - ส่งวิทยุ กับสายอากาศสายนำสัญญาณสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1.บาลานซ์ไลน์ (Balance line) คือ สานนำสัญญาณที่มีตัวนำ 2 เส้น ที่มีลักษณะเหมือนกัน วางขนานกัน โดยมีตัวกลางหรือ ไดอิเล็กทริก กั้นกลาง อาจจะเป็นอากาศก็ได้ เช่นสายแบบ โอเพ่นไวร์ (Open wire) ซึ่งจะมีฉนวนต่อขั้นเป็นระยะเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และคงลักษณะของการขนานไว้ อีกแบบ คือ สายริบบอน หรือ ทวินลีด ซึ่งมีอิมพีเดนซ์ 300 โอมห์ ที่เรานำมาใช้ต่อสายอากาศโทรทัศน์ ในสมัยก่อน เปลือกหุ้มของสายอากาศแบบนี้ จะเป็นไดอิเล็กทริกไปในตัวด้วย 2.อันบาลานซ์ไลน์ (Unbalance line) คือ สายนำสัญญาณที่ตัวนำสองเส้นมีลักษณะต่างกัน หรือที่รู้จักกันดีในนาม สายโคแอกเชียล (coaxial cale) นั่นเอง สายแบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดแทน สายแบบบาลานซ์ไลน์ ด้วยคุณสมบัติที่ดีกว่า เช่น ป้องกันคลื่นวิทยุอื่นๆแทรกเข้ามาได้ดีกว่า ติดตั้งใกล้ๆ โลหะได้โดยไม่มีผลการสูญเสียคลื่นออกจากสาย ค่าความเร็วของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณ (Velocity Factor)การเดินทางของคลื่นวิทยุในสายนำสัญญาณนั้น เดินทางได้ช้ากว่าในบรรยากาศและช้ากว่าความเร็วแสงในบรรยากาศ ซึ่งค่าความเร็วของคลื่นวิทยุ ในสายนำสัญญาณมีค่าสัมพันธ์กับค่าคงที่ของวัสดุที่นำมาทำเป็นไดอิเล็กทริก ของสาย (dielectric constant) ค่าความเร็วนี้ได้มาจากอัตราส่วนของความเร็วคลื่นในสายต่อความเร็วคลื่นในบรรยากาศ ซึ่งบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ ของควมเร็วแสง โดยทั่วไปแล้วค่าความเร้วของคลื่นในสายเราจะเรียกว่า ตัวคูณความเร็วของสาย เช่น สายนำสัญญาณเบอร์ RG - 58A/U มีค่าตัวคูณความเร็ว 0.66 ซึ่งรายละเอียดของสายนำสัญญาณเบอร์ต่างๆ แสดงอยู่ในตารางที่ 1 ในตอนแรกนี้เราเรียนรู้พื้นฐานของสายนำสัญญาณ และชนิดของสายนำสัญญาณมาพอสมควรแล้ว ตอนต่อไปจะเป็นการนำสายนำสัญญาณมาประยุกต์ใช้งาน การตัดสายนำสัญญาณให้ลงแลมด้า ตามความถี่ที่ใช้งาน และการตัดสายนำสัญญาณเพื่อทำเฟสชิ่งไลน์
ตารางที่ 1 ตารางคุณสมบัติสายโคแอกเชียลที่นิยมใช้งาน
ค่าอิมพีแดนซ์(Ohm)
ตัวคูณความเร็ว(Velocity Factor)
ค่าความจุไฟฟ้า(pF/ฟุต)
เส้นผ่าศูนย์กลาง(นิ้ว)
วัสสดุที่ใช้ทำไดอิเล็กทริก
แรงดันใช้งานสูงสุด(Vrms)
RG - 6RG - 8XRG - 8RG - 8 foamRG - 8ARG - 9RG - 9ARG - 9BRG - 11RG - 11 foamRG - 11ARG - 12RG - 12ARG -17RG - 17ARG - 55RG - 55ARG - 55BRG - 58RG - 58 foamRG - 58ARG - 58BRG - 58CRG - 59RG - 59 foamRG - 59ARG - 62RG - 62ARG - 62BRG - 133ARG - 141RG - 141ARG - 142RG - 142ARG - 142BRG - 174RG - 213RG - 214RG - 215RG - 216RG - 2239913 (Belden)9914 (Belden)
75.052.052.050.052.051.051.050.075.075.075.075.075.052.052.053.550.053.553.553.553.553.550.073.075.073.093.093.093.095.050.050.050.050.050.050.050.050.050.075.050.050.050.0
75756680666666666680666666666666666666796666666679668686866670707070706666666666668478
18.626.029.525.429.530.030.030.820.616.920.620.620.629.529.528.530.828.528.528.528.528.530.821.016.921.013.513.513.516.229.429.429.429.429.430.830.830.830.820.630.824.026.0
0.2660.2420.4050.4050.4050.4200.4200.4200.4050.4050.4050.4750.4750.8700.8700.2160.2160.2160.1950.1950.1950.1950.1950.2420.2420.2420.2420.2420.2420.4050.1900.1900.2060.2060.1950.10.4050.4250.4750.4250.2120.4050.405
Foam PEFoam PEPEFoam PEPEPEPEPEPEFoam PEPEPEPEPEPEPEPEPEPEFoam PEPEPEPEPEFoam PEPEAir Space PEAir Space PEAir Space PEPEPTFEPTFEPTFEPTFEPTFEPEPEPEPEPEPEAir Space PEFoam PE
400300400015005000400040005000400016005000400050001100011000190019001900190060019001900190023008002300750750750400019001900190019001900150050005000500050001900N/AN/A
ความหมายของตัวย่อของสารที่ทำเป็นไดอิเล็กทริก PE โพลีเอททีลีน อุณหภูมิใช้งาน (C) -65 ถึง +80 Foam PE โฟมโพลีเอททีลีน อุณหภูมิใช้งาน (C) -65 ถึง +80 PTFE เทฟล่อน อุณหภูมิใช้งาน (C) -250 ถึง +250
ข้อมูลจาก HS3PMT http://www.hs3pmt.com/
การเลือกใช้สายนำสัญญาณ ตอนที่ 2
การเลือกใช้สายนำสัญญาณ ตอนที่ 2
การตัดสายนำสัญญาณให้ลงแลมด้าเพื่อทำเฟสชิ้งไลน์ โดยปรกติเมื่อนำสายนำสัญญาณมาใช้งานตามปรกติ ค่าตัวคูณความเร็วของสายนำสัญญาณก็แทบ ไม่ต้องสนใจ แต่ถ้าใช้สายนำสัญญาณมาต่อเพื่อขนานสายอากาศหลายๆ ต้นเข้าด้วยกัน เช่น สายอากาศแบบยากิหลายๆ แสต็ก หรือ สายอากาศไดโพลหลายๆ ห่วง สายนำสัญญาณที่ถูกนำมาใช้งานในลักษณะนี้เรียกว่า "เฟสชิ่งไลน์ (phasing line)" ซึ่งจะต้องคำนวนความยาวสายอากศเทียบกับความยาวคลื่น โดยความยาวคลื่นหาได้จากสูตร
แลมด้า
คือ ความยาวคลื่นมี หน่วยเป็นเมตร
V
คือ ความถี่ที่ใช้งาน มีหน่วยเป็น MHz
F
คือ ความเร็วของคลื่นวิทยุในอากาศ
ค่าความยาวคลื่นที่ได้ออกมานี้ เมื่อนำมาใช้กับสายนำสัญญาณ หรือ สายเฟสชิ่งไลน์ จะเรียกว่าความยาวทางไฟฟ้า (electrical length) ซึ่งเมื่อต้องการตัดสายสายนำสัญญาณมาใช้งานจริงๆ จะต้องคูนค่าตัวคูณความเร็วของสายนำสัยญาณกับค่าความยาวทางไฟฟ้าก่อน ค่าที่ได้ออกมาจึงคือค่าความยาวจริงที่ใช้ในทางปฎิบัติ
ตัวอย่าง เช่น ใช้สายนำสัยญาณเบอร์ RG-8 แบบโฟม มีค่าตังคูณความเร็ว 0.8 มาทำเฟสชิ่งไลน์ ยาวครึ่งความยาวคลื่นของความถี่ 145 MHz จะได้ความยาวทางไฟฟ้าเท่ากับ
(300/145) X (1/2) = 1.0344 เมตร
ก่อนจะตัดสินใจนำสายนำสัญญาณเบอร์ใดมาใช้งาน ก็จำเป็นต้องทราบค่าตัวคูณความเร็วของ สายนำสัญญาณเบอร์นั้นๆ ด้วย ลองมาดูตัวอย่างการใช้งานจริงกันบ้าง เช่น ถ้าต้องการนำสายอากาศ ยากิ แบบ 5 อี 2 ต้น มาแสต็กเข้าด้วยกันจะต้องใช้สายเฟสชิ่งไลน์อิมพีแดนซ์ 75 โอมห์ ยาว 3/4 แลมด้า ในทางไฟฟ้า ต่อจากสายอากาศแต่ละต้นและนำปลายสายอีกด้านหนึ่งมาต่อขนานกัน อิมพีแดนซ์รวมที่จุดนี้ จะเป็น 50 โอมห์ และต่อสายนำสัญญาณ 50 โอมห์ จากจุดนี้ ไปยังเครื่อง รับ-ส่ง วิทยุ ซึ่งการต่อใช้งานสาย ในลักษณะนี้เพื่อจัดเฟสในระบบสายอากาศรวมหลายๆ ต้น หรือ เรียกว่า ควอเตอร์เวฟทรานสฟอร์เมอร์ (quarter wave transformer) เราจะต้องกำหนดความยาวของสายเฟสชิ่งไลน์เป็นเศษส่วนของความ ยาวคลื่น แต่เศษต้องเป็นเลขคี่ เช่น 3/4 , 5/4 , 7/4 , 9/4 ส่วนจะเป็นเท่าไรขึ้นอยู่กับแบบของสายอากาศ ที่จะนำมาแสต็กกัน วิธีการนี้มีหลักการมาจากสูตร
Zo
คือ ค่าอิมพีแดนซ์ของสายนำสัยญาณที่นำมาใช้
Zs
คือ ค่าอิมพีแดนซ์ที่ต้องการ
Zi
คือ ค่าอิมพีแดนซ์ของสายอากาศ
ดังที่กล่าวมาแล้ว เราจะต้องทำสายอากาศแต่ละต้นให้มีอิมพีแดนซ์ 100 โอมห์ ก่อน เมื่อนำสองต้นมาต่อขนานกับอิมพีแดนซ์ก็จะลดลงเหลือ 50 โอมห์ พอดี เมื่อลองแทนค่า อิมพีแดนซ์ของสาย 75 โอมห์ ค่าอิมพีแดนซ์ที่ต้องการ คือ 100 โอมห์ เราจะได้ค่าอิมพีแดนซ์ของสายอากาศแต่ละต้นประมาณ 56 โอมห์ เมื่อต่อสายเฟสชิ่งไลน์เข้าไปจะได้อิมพีเแดน์รวมที่ปลายสายอีกด้านหนึ่งจะได้อิมพีแดนซ์ 100 โอมห์ทันที เมื่อนำสายอากาศที่ต่อสายเฟสชิ่งไลน์แล้วสองต้นมาขนานกันก็จะได้ ค่าอิมพีแดนซ์ 50 โอมห์ เพื่อต่อสายนำสัญญาณเข้า เครื่องวิทยุ รับ-ส่ง แต่ก่อนที่จะตัดสายนำสัญญาณจะต้องไม่ลืมคูณค่าความเร็วของสายนำสัญญาณเข้าไปก่อน
มาตรฐานของสายนำสัญญาณ สายนำสัญญาณทุกแบบถูผลิตตามมาตรฐาน MIL - C -17 ในกิจการทางด้านทหารของสหรัฐอเมริกา และ JIS C 3501 ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต่างๆ จะนำมาผลิตสายนำสัญญาณยี่ห้อของตนตามมาตรฐานจำพวกนี้ และกำหนดเบอร์ของสายออกมา ซึ่งจะบอกคุณลักษณะของสายนำสัญญาณ เช่น
มาตรฐาน MIL- C -17 RG-58 A/U RG ย่อมาจาก Radio Guide ก็คือสายนำสัญญาณวิทยุนั่นเอง 58 เป็นเบอร์ของสาย อักษรตัวแรก อาจมีหรือไม่มีก็ได้แสดงการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงวัสดุ เช่น เปลือกหุ้ม จำนวนลวดตัวนำ อิมพีแดนซืเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การสูญเสียต่างกันเล็กน้อย /U หมายถึง Utility หรือ Universal คือการใช้วานทั่วไป
มาตรฐาน JIS C 3501 5D-FB ตัวเลขตัวแรก คือ ขนาดเส็นผ่าศูนย์กลางภายนอก โดยประมาณ ของไดอิเล็กทริก อักษรหลังตัวเลข คือ ค่าอิมพีแดนซ์ C = 75 โอมห์ D = 50 โอมห์ อักษรหลังขีด แสดงวัสดุที่ทำไดอิเล็กทริก F คือ โฟม ถ้าเป็นเลข 2 คือ PE อักษรตัวสุดท้าย แสดงลักษณะของชิลด์ และเปลือกหุ้มสาย
B = ชิลด์ทองแดง + ชิดล์ อะลูมืเนียม + PVC E = ชีลด์ทองแดง + PE L = ชีลด์อะลูมิเนียม + PVC N = ชิลด์ทองแดง + ไนล่อยถัก V = ชีลด์ทองแดง + PVC W = ชิลด์ทองแดงทักสองชั้น + PVC
การเลือกใช้สายนำสัญญาณ
สำหรับทาวเออร์แล้วควรใช้สายนำสัญญาณเส้นใหญ่ๆ และค่าการสูญเสียต่ำ เพื่อให้ความสูงของสายอากาศเกิดประโยชน์เต็มที่ และการสูญเสียน้อนที่สุด ถ้าใช้สายนำสัญญาณเล็กๆ บางครั้ง สายอากาศที่อยู่ต่ำกว่าแต่การสูญเสียน้อยจะรับส่งได้ดีกว่าเสียอีก
สายอากาศทิศทางที่ต้องใช้โรเตอร์ช่วยหมุนหาทิศทาง ควรใช้สายนำสัญญาณแบบที่มีตัวนำตรงกลางหลายๆ เส้น จะได้ไม่ขาดเร็วเกินไป แต่ก็ไม่ควรใช้สายโฟม เพราะไดอิเล็กทริกนิ่มและมีรูพรุนเมื่อถูโค้งงอบ่อยๆ ตัวนำตรงกลางอาจเบียดออกด้านข้างไม่อยู่ในแนวกลางเหมือนเดิม อิมพีแดนซ์ของสายอากาศจะเปลี่ยนไปทำให้ค่าการสูญเสียเพิ่มขึ้น
สายโฟมและสายที่มีตัวนำตรงกลางเส้นเดียวมีการสูญเสียน้อย เหมาะสำหรับการใช้งานตายตัว เช่น ใช้กับสายอากาศแบบรอบตัว
สายอากาศที่ต้องตากแดดตาดฝนอยู่ตลอดปี ควรเลือกใช้สายนำสัญญาณแบบที่เปลือกหุ้มทำจากสาร NMV แทน PVC เช่น สายเบอร์ RG-58 C/U แทน RG-58 A/U
มาถึงตอนนี้หวังว่าเพื่อนๆ ผู้ที่กำลังจะพัฒนาสถานีของตนเอง คงจะมีความรู้เพิ่มขึ้นในการเลือกใช้สายนำสัญญาณ จากที่อาจจะไม่ค่อยให้ความสำคัญของสายนำสัญญาณเลยหรือให้ความสำคัญน้อยมาก หลายคนอาจจะให้ความสำคัญกับสายอากาศมากกว่า แต่แท้ที่จริงการเลือกใช้สายนำสัญญาณให้ เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานมีผลต่อระบบการสื่อสารมากไม่แพ้สายอากาศทีเดียว ฉะนั้นเรามาใช้งานสายนำสัญญาณแบบผู้รู้ ซึ่งจะทำให้เราประหยัดและสถานีมีคุณภาพ ....QRU 73
ข้อมูลจาก HS3PMT http://www.hs3pmt.com/
ตาราง แสดงคุณสมบัติของสายนำสัญญาณ ที่นักวิทยุสมัครเล่นนิยมใช้
อิมพิแดนซ์
ตัวคูณความเร็ว
อัตราการสุญเสีย (dB) ที่ความยาว 100 เมตร ความถี่ 145 MHZ
RG-8/u | |
52
0.66
8.8
RG-8/U โฟม
50
0.78
7.4
RG-8A/U
52
0.66
8.8
RG-11/U
75
0.66
9.0
RG-11/U โฟม
75
0.78
5.6
RG-11A/U
75
0.66
9.0
RG-58/U
53.5
0.66
18.6
RG-58A/U
50
0.66
19.9
RG-58A/U โฟม
50
0.78
17.8
RG-59/U
73
0.66
13.6
RG-59/U โฟม
75
0.78
10.4
RG-59B/U
75
0.66
13.6
RG-174/U
50
0.66
34.3
RG-213/U
50
0.66
8.8
RG-214/U
50
0.66
8.8
RG-218/U
50
0.66
3.9
3D-LFV
50
0.78
15.4
5D-FB
50
0.79
7.8
8D-FB
50
0.79
5.0
10D-FB
50
0.79
3.8
12D-FB
50
0.79
3.2
Haliax แบบโฟม 3/8 นิ้ว
50
0.88
4.1
Haliax แบบโฟม 1/2 นิ้ว
50
0.88
3.1
วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551
ผลการทดลองเกี่ยวกับฟ้าผ่า
ผลการทดลองเกี่ยวกับฟ้าผ่า ของ HS8JYX
ผลการทดลองในห้องทดลองของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก่อน ได้มีการทดลองโดยการสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกระตุก (Impluse Generator) ซึ่งเป็นเครื่ีองกำเนิดไฟฟาที่ไกล้เคียงฟ้าผ่ามากที่สุด
วิธีการทดลองคือป้อนประจุให้เครื่องเก็บประจุแล้วให้มันคายประจุอย่างรวดเร็ว
การทดลองที่ 1 ตั้งโลหะปลายทู่และปลายแหลมไว้ล่อ แล้วให้เครื่องคายประจุอย่างรวดเร็วมันจะ คายประจุผ่านปลายเหลมทุกครั้ง
การทดลองที่ 2 ตั้งโลหะปลายแหลมซึ่งมีความสูงต่าง ๆ กันไว้ให้ห่างปลายอิเล็คโทรดเท่า ๆ กันดังรูปที่ 1 เมื่อให้เครื่องคายประจุออกมา มันจะ คายประจุลงมาที่ท่อนโลหะที่สูงสุดทุกครั้ง
การทดลองที่ 3 ต่ออิเล็คโทรดปลายแหลมเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระตุก ให้ปลายแหลมจ่ออยู่บนกระจก เมื่อให้เครื่องคายประจุจะเห็นประกายไฟแผ่ซ่านกระจายเต็มแผ่นกระจก ซึ่งมันคือกระแสนั่นเอง (รูปที่ 2)
การทดลองที่ 4 ใช้ลวดตัวนำต่อจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลงดิน (ผ่าน Damming Resistor) นำลวดทองแดงซึ่งขดเป็นรูปสี่เหลียมผืนผ้ามีปลายเปิดที่ ab ใช้ลวดเส้นเล็ก ๆ หรือฟิวส์ต่อระหว่างจุด ab ดังรูปที่ 3 ไปตั้งไกล้ตัวนำ เมื่อเตรียมเสร็จให้ปล่อยไฟฟ้าคายประจุลงดิน ปรากฎว่าฟิวส์ที่ต่อตรงจุด ab จะขาดและเกิดประกายไฟ นั่นแสดงว่าเกิดกระแสเหนียวนำ (Induced Current) ขึ้นในขดลวดสี่เหลียม จาก กฎดังนี้
E2 คือแรงดันที่เกิดขึ้นในขดลวดรูปสี่เหลียม
(di/dt)1 คือการเปลี่ยนแปลงของกระแสในขดลวดตัวนำ ab ที่ต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
M เรียกว่า Mutua In Ductance ระหว่างขดลวดตัวนำและขดลวดทองแดง
การทดลองที่ 5 นำรถตู้ Volks - Wagen เข้าไปจอดพร้อมผู้ขับขี่อยู่ภายในรถแล้วปล่อยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคายประจุลงดิน จากส่วนบนของรถลงดิน คนอยู่ภายในจะปลอดภัย และเมื่อหยุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้า คายประจุ เมื่อเปิดกระจกรถเอาแขนออกมาจะมีไฟฟ้าสถิตโดยรอบ โดยสังเกตจากขนแขนจะชูชัน อธิบายได้จากกฎของฟาราเดย์ ด้วยทฤษฎีลูกกรงฟาราเดย์
ขอขอบคุณ บทความจากwww.hs8jyx.com
คำขวัญประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีในอดีต
สัญลักษณ์ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ เคี่ยม (Cotylelobium melanoxylon)
ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกบัวผุด (Rafflesia kerrii)
ประวัติจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปราบก๊กเจ้าพระยานคร ครั้นมาถึงเมืองไชยา หลวงปลัดเมืองไชยาเข้ามาสวามิภักดิ์ จึงทรงโปรดเกล้า ให้เป็น เจ้าเมืองไชยาครั้นถึงสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่ายกทัพมารตุกรานหัวเมืองปักษ์ใต้ เมืองไชยาถูก พม่าเผาเสียหายคราวนั้นด้วยจึงย้ายเมืองจากบ้านเวียงไปตั้งใหม่ที่ตำบลพุมเรียง ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่5 เมืองไชยาได้รวมเข้าเป็น เมืองหนึ่งในมณฑลเทศาภิบาลเรียกว่ามณฑลชุมพร...........
ในส่วนของเมืองท่าทอง ในคราวที่พม่ายกทัพมารุกรานปักษ์ใต้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็ถูกพม่า
ทำลายเสียหายเป็นอันมากยากแก่การบูรณะ จึงย้ายเมืองไปตั้งริมคลองกะแดะคือบริเวณ ที่ตั้งอำเภอ
กาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน เมืองท่าทองตั้งอยู่ที่นี่ไม่นานก็ย้ายไปตั้งใหม่ทีฝั่งซ้ายริมคลองท่าเพชร ต่อมาคลองท่า เพชรก็เปลี่ยนชื่อเป็นคลองท่าทองใหม่จึงเรียกเมืองใหม่ว่า เมืองท่าทองใหม่ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่4ได้
โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองท่าทองจากริมคลองท่าเพ็ชรมาตั้งที่บ้านดอน โดยมีฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรง
ต่อกรุงเทพ พร้อมพระราชทานนามใหม่ให้ว่าเมืองกาญจนดิษฐ์ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองกาญจนดิษฐ์
ได้รวมกับเมืองไชยารวมเรียกว่า เมืองไชยา ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลชุมพร เมืองกาญจนดิษฐ์ จึงยุบลงโดย ปริยาย......... ในสมัยรัชกาลที่ 6ได้เสด็จประพาสเมืองไชยาที่บ้านดอนและพระราชทานนามเมืองว่า
เมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่าเมืองคนดีตามลักษณะนิสัยของคนเมืองนี้ และทรงเปลี่ยนชื่อแม่น้ำหลวงเป็น
แม่น้ำตาปี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อ่าวบ้านดอนเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"
นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าเจ้าศรีธรรมาโศก ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด และเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์" โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "เมืองไชยา" ภายใต้สังกัดมณฑลชุมพร
เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ อ่าวบ้านดอน ให้ชื่อเมืองใหม่ว่า อำเภอไชยา และให้ชื่อเมื่องเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" แต่เนื่องด้วยประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามเมืองใหม่ที่บ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และให้ชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" และทรงพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำตาปติไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุราษฎร์ธานี
ที่มาของคำขวัญจังหวัดสุราษฎร์ธานี
1. เมืองร้อยเกาะ เป็นสมยานามของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีเกาะน้อยใหญ่มากมายเช่น
เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะริกัน เกาะนกเภา เกาะกล้วย เกาะพะลวย เกาะปราบ เกาะแตนหมู่เกาะอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ทำให้มีนักท่องเที่ยวมากมาย หลั่งใหลกันเข้ามาเที่ยว จนทำรายใด้มากมายให้กับจังหวัด
2. เงาะอร่อย เงาะโรงเรียนมีปลูกกันมากที่อ.บ้านนาสาร โดยมีประวัติเล่าว่าเมื่อปี พ.ศ.2468มี
ชาวจีนสัญชาติ มาเลเซีย ชื่อนายเค วอง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปีนัง ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองดีบุกที่หมู่บ้าน เหมืองเกาะ ต.นาสาร ได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างที่พัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่ง มีลักษณะต่างไป จากต้นอื่น คือมีผลกลม เนื้อกรอบ เปลือกบาง รสชาติอร่อยในปี 2497 นาย เค วอง ได้เลิกกิจการและได้ขายที่ดินให้กับกระทรวงธรรมธิการ และต่อมา ก็ได้ปรับปรุงจนเป็นโรงเรียน ชื่อโรงเรียนนาสาร ส่วนเงาะที่ปลูกไว้ก็ได้แจกจ่ายสู่ประชาชน โดยใช้ พันธุ์เดิมเรียกว่า เงาะโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้นำชาวสวนได้นำเงาะทูลเกล้าฯ ถวายเงาะโรงเรียนและขอพระราชทานชื่อพันธุ์เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรัสว่า " ชื่อเงาะโรงเรียนก็ดีอยู่แล้ว " ตั้งแต่บัดนั้นเลยได้ ชื่อเงาะโรงเรียนอย่างเป็นทางการ
3. หอยใหญ่ ในที่นี้หมายถึงหอยนางรม ซึ่งหอยนางรมสุราษฎร์ธานี เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่าเป็นอาหารทะเลขึ้นชื่อ มีรสอร่อยชวนรับประทาน ซึ่งมีการเพาะเลียงกันมากที่ปากคลอง
กะแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี 2 ชนิดคือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่า หอยเจาะ ชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่า หอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอย 2 ฝา พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น หอนนางรมจะวางไข่ตลอดปี แต่จะพบมากในเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน และวางไข่ครั้งละ ประมาณ 1-9 ล้านฟอง
4. ไข่แดง เป็นนามเรียกลักษณะไข่เค็มไชยา ซึ่งเป็นไข่เค็มที่ทำจากไข่เป็ด ที่เลี้ยงในเขตอำเภอ
ไชยา มีลักษณะ พิเศษคือ ไข่แดง มีสีแดงจัด ไข่แดงมากกว่าไข่ทั่วไป สีสันมันวาวชวนรับประทาน เป็นสินค้าที่เป็น เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไชยา และ ชาวสุราษฎร์ธานี มีจำหน่ายทั่วไปในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา
5. แหล่งธรรมะ แหล่งธรรมะที่ชาวจังหวัดสุราษฎร์ฯ ภูมิใจก็คือ สวนโมกข์พลาราม หรือวัดธารน้ำไหล
ท่านพระพุทธทาส ได้สร้างสวนโมกข์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2502 ในเนื้อที่ 375 ไร่ เป็นวัดที่ไม่มีสิ่งก่อสร้าง เป็นโบสถ์วิหาร แต่จะใช้ธรรมชาติอันร่มรื่น ทำให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งทุกแห่งในสวนโมกข์ สามารถศึกษา
ธรรมะได้อย่างเข้าใจถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา
สถานที่หน้าเที่ยวของอำเภอบ้านนาเดิม
สระบัว
เป็นสระน้ำที่มีพื้นที่รอยต่อกับ ต.ท่าสะท้อน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ภายในสระจะมีบัวหลวงอยู่มากมาย ซึ่งดอกบัวหลวงจะบานตอนเช้า มีความสวยงามมาก ตำบลตำบลท่าเรือ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประวัติบ้านเกิด
1. ที่ตั้งอาณาเขต
อำเภอบ้านนาเดิม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กม.
ทิศเหนือ ติดต่อ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และอำเภอพุนพิน
ทิศใต้ ติดต่อ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และอำเภอบ้านนาสาร
ทิศตะวันออก ติดต่อ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี และอำเภอบ้านนาสาร
ทิศตะวันตก ติดต่อ อำเภอเคียนซา และอำเภอพุนพิน
2. ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 10 เมตร สภาพดินเป็นดินร่วนปนทรายและดินเหนียว เหมาะกับการทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ มีแม่น้ำตาปีและคลองลำพูนไหลผ่าน มีฝนตกชุกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,600 ม.ม.อุณหภูมิเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียส มี 2 ฤดูกาล คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม ถึงเดือน เมษายน
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม ถึงเดือน ธันวาคม
3. พื้นที่
มีพื้นที่ประมาณ 206 ตารางกิโลเมตร หรือ 128,753 ไร่คิดเป็น 2.06% ของพื้นที่ทั้งจังหวัด การถือครองที่ดินส่วนใหญ่ได้รับเอกสารสิทธิ์จากทางราชการและมีการจัดที่ทำกินให้ประชาชนในเขตปฏิรูปที่ดิน
4. การปกครอง
แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 4 ตำบล 30 หมู่บ้าน
- ตำบลบ้านนา จำนวน 10 หมู่บ้าน
- ตำบลนาใต้ จำนวน 9 หมู่บ้าน
- ตำบลท่าเรือ จำนวน 6 หมู่บ้าน
- ตำบลทรัพย์ทวี จำนวน 5 หมู่บ้าน
5. ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น 14,657 คน แยกเป็นชาย 7,167 คน หญิง 7,490 คน ( ตามข้อมูล จปฐ.ปี 2549)
ประวัติอำเภอบ้านนาเดิม
อำเภอบ้านนาเดิมเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีประวัติและสภาพดังนี้
1. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดระเบียบการปกครองแผ่นดินในส่วนภูมิภาคใหม่ตามพระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองท้องที่ รศ.116 ข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑล ได้ยุบแขวงที่มีอยู่เดิม แล้วจัดตั้งอำเภอลำพูนขึ้นที่ตำบลบ้านนา มี 7 ตำบล คือ ตำบลบ้านนา ท่าเรือ กอบแกบ ทุ่งเตา อิปัน และพนม โดยขึ้นกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อ รศ. 118 (พ.ศ.25542) พระยาสุขุมนัยวินิจ (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเทศาภิบาลได้มาตรวจราชการ เห็นว่าการจัดการปกครองของอำเภอลำพูน ในขณะนั้นไม่สะดวก จึงได้แยกตำบลอิปัน พนม และพระแสงออกจากอำเภอลำพูน ไปตั้งเป็นอำเภอใหม่ ชื่อว่าอำเภอพระแสง แล้วโอนตำบลเวียงสระ ทุ่งหลวง ท่าชีและตำบลอูมาด (ต.ฉวางเดิม) มาขึ้นกับอำเภอลำพูน แต่ยังขึ้นกับจังหวัดเมืองนครศรีธรรมราช
ครั้ง รศ 119 พระศิริธรรมบริรักษ์ (เย็น) ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนชื่อตำบลอู่มาด เป็นตำบลนาสาร เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2448 (รศ.125) ได้โอนอำเภอลำพูน อำเภอพระแสง อำเภอพนม จากเมืองนครศรีธรรมราชมาขึ้นกับเมืองไชยา โดยพิจารณาเห็นว่า พื้นที่อำเภอเหล่านี้อยู่ไกลจากเมืองนครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2460 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่ออำเภอลำพูนมาเป็นอำเภอบ้านนา จึงได้เปลี่ยนชื่อเสียใหม่ถูกต้องกับตำบลที่ตั้งอยู่
เดือนมีนาคม 2465 ทางราชการได้โอนตำบลกรูด ตำบลเคียนซา และตำบลพ่วงพรหมคร มาขึ้นกับอำเภอบ้านนา จนถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2481 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบ้านนาไปตั้งที่ตำบลนาสาร แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า อำเภอบ้านนาสาร ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2482 เป็นต้นมา
ครั้งถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2519 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ้านนาเดิม โดยแยกท้องที่อำเภอบ้านนาสาร 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านนา และตำบลท่าเรือ โดยใช้สถานที่วัดทองประธาน หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนา เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอชั่วคราว จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2527 จึงได้มีการก่อสร้างที่ว่าการกิ่ง เป็นการถาวรจนปัจจุบันนี้
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2533 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ
โดยที่เห็นสมควรตั้งอำเภอเพิ่มในท้องที่ เพื่อประโยชน์แก่การปกครองและความสะดวกของประชาชน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และข้อ 56 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอบ้านนาเดิม พ.ศ. 2533”
ฉบับพิเศษ หน้า 1 เล่ม 107 ตอนที่ 83 ราชกิจจานุเบกษา 21 พฤษภาคม 2533 เป็นต้นมา
สายอากาศ 3 stacked Sleeve Folded Dipole
หลังจากที่ได้ลองคำนวณอัตราขยายของไดโพล 3 ห่วงและ 4 ห่วงบนบูมยาว 6 เมตรไปแล้ว ประกอบกับได้สนทนากับเพื่อนสมาชิกในความถี่เกี่ยวกับโฟลเด็ดไดโพลแบบใส่ปลอก หลังจากได้ทดลองคำนวณจากโปรแกรมพบว่าโฟลเด็ดไดโพลแบบใส่ปลอกให้อัตราขยายได้มากกว่าโฟลเด็ดไดโพลธรรมดาประมาณ 1.5 dB ที่ระยะห่วงห่างจากบูมเท่ากัน จึงเกิดความสนใจทดลองทำดูบ้าง
เริ่มต้นคำนวณโดยสร้างแบบจำลองโฟลเด็ดไดโพลใส่ปลอกในโปรแกรม 4NEC2 โดยคำนวณเปรียบเทียบระหว่างมีปลอกและไม่มีปลอก
รูปโครงสร้างโฟลเด็ดไดโพลใส่ปลอก บูมขนาด 1 นิ้วครึ่ง ยาว 6 เมตร
โปรแกรม 4NEC2 มีความสามารถในการคำนวณเมื่อมีสายนำสัญญาณเป็นส่วนประกอบ ดังนั้นจึงเป็นความสะดวกที่เราไม่ต้องใช้วิธีลองผิดลองถูกตัดสายนำสัญญาณเพื่อให้เกิดภาวะแมตช์ เพียงเราทดลองเปลี่ยนความยาวสายนำสัญญาณในโปรแกรมและอ่านค่าอิมพิแดนซ์เมื่อได้ค่าที่เหมาะสมแล้วนำไปคูณกับค่าตัวคูณความเร็วตามประเภทสายนำสัญญาณที่เราใช้ (เพราะค่าในโปรแกรมเป็นความยาวทางไฟฟ้าที่ยังไม่ได้คิดค่าความสูญเสียในสายและตัวคูณความเร็ว) ก็จะได้ความยาวสายเฟสที่เหมาะสม วิธีนี้ช่วยให้ไม่ต้องเปลืองสายนำสัญญาณหากว่าทดลองตัดแล้วผิด หรือแมตช์ไม่ลง ในรูปต้นแบบแสดงความยาวของสายนำสัญญาณที่ใช้จริง
ในต้นแบบนี้ใช้สายนำสัญญาณ RG-6/U เนื่องจากเห็นว่ามีราคาถูกประมาณเมตรละ 10 บาท เมื่อเทียบกับ RG-11 ที่นิยมใช้กันราคาถีบตัวไปถึงเกือบเมตรละ 60 บาทแล้ว ผู้เขียนสร้างสายอากาศต้นนี้โดยยึดหลักความประหยัดประกอบกับอยากทดลองว่า RG-6 จะสามารถนำมาเป็นสายเฟสได้หรือไม่ ? จะสามารถทนกำลังได้มากเพียงใด ? เมื่อคำนวณอัตราการสูญเสียเมื่อเทียบกับ RG-11 เห็นว่ามีความแตกต่างกันประมาณ 0.5 dB ถึงแม้หลายคนจะมองว่ามีความแตกต่างกัน แน่นอนครับหากท่านยอมเสียเงินเพิ่มอีก 400-500 บาทเพื่อซื้ออัตราขยายที่เพิ่มขึ้นเพียงไม่ถึง 1 dB ก็สามารถทำได้โดยเปลี่ยนสายเฟสเป็น RG-11 และคำนวณความยาวที่เหมาะสมใหม่เท่านั้นเอง ในต้นแบบนี้ความยาวพื้นฐานทางไฟฟ้าของสายเฟสแต่ละเส้นคือ 153.6 องศา ลองคำนวณเองนะครับ...
ในส่วนของ
รูปแบบการแพร่กระจายคลื่น
รูปการแพร่กระจายคลื่นใน Free Space ของโฟลเด็ดไดโพล 3 ห่วงธรรมดาไม่มีปลอก
จากรูปจะเห็นความแตกต่างระหว่างโฟลเด็ดไดโพลที่มีปลอกขนาด 1 นิ้วสวมไว้ที่ขาซีกบนด้านหน้าของห่วง ทำให้มีอัตราขยายเพิ่มขึ้นประมาณ 1.7 dB โดยที่ยังมีรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นเหมือนเดิมทุกประการ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปก็คือค่าอิมพิแดนซ์เมื่อใส่ปลอกจะลดลงทำให้ต้องคำนวณความยาวของสายเฟสใหม่ ซึ่งแต่เดิมเรามักจะจัดระยะให้โฟลเด็ดไดโพลมีอิมพิแดนซ์ใกล้เคียง 100 Ω แต่เมื่อใส่ปลอกอิมพิแดนซ์จะลดลงเหลือประมาณ 80 Ω ลองคิดๆ ดูแล้วก็ยังไม่ทราบว่าทำไมมันจึงมีอัตราขยายเพิ่มขึ้นมาได้ ตอนแรกตั้งสมมติฐานว่าอัตราขยายที่เพิ่มขึ้นจะได้มาจากคลื่นด้านหลัง แต่ดูจากรูปข้างบนแล้ว คลื่นด้านหลัง ด้านข้างก็ยังเท่าเดิม แล้วอัตราขยายมันเพิ่มขึ้นมาได้ไง.....งง งง งง ?
เมื่อเปรียบเทียบกับโฟลเด็ดไดโพล 4 ห่วงบนบูมยาว 6 เมตรจะพบว่าอัตราขยายพอๆ กัน อาจจะดีกว่าด้วยซ้ำ เพราะระยะห่างระหว่างห่วงมากกว่าสามารถทำอัตราขยายได้เต็มที่กว่าแบบที่วางห่วงให้ชิดๆ กัน อัตราขยายด้านหลังค่อนข้างบอดคือน้อยกว่าด้านหน้าเกือบ 5dB และมีความกว้างลำคลื่นเมื่อคิดที่ 3 dB ประมาณ 200 องศา คือด้านหน้า และข้างซ้าย-ขวา จะไม่ค่อยแตกต่าง สรุปเป็นตัวเลขอัตราขยายโดยประมาณ ด้านหน้า 9.15 dBd ด้านข้าง 6.15 dBd และด้านหลัง 4.31 dBd แต่ถ้าสร้างโดยใช้บูมขนาด 1 นิ้ว 6 หุน จะได้อัตราขยายด้านหน้าเพิ่มขึ้นอีก และด้านหลังก็จะยิ่งบอดกว่านี้
SWR
จะขอเล่าถึงขั้นตอนการทดลองตั้งแต่แรกเรี่มว่าได้ทดลองอะไรมาบ้าง เพราะตัวเลขที่เห็นสวยหรูนี่มิได้เกิดจากความพยายามเพียงแค่วันเดียว แต่เกิดจากลองผิดลองถูกพยายามที่จะปรับสิ่งที่อยู่ในโปรแกรมให้มีผลที่ตรงกับความเป็นจริงให้มากที่สุด
ค่า SWR 2 ห่วงเมื่อติดตั้งบนระเบียนบ้านชั้น 2 สูงจากพื้นดินประมาณ 5 เมตร ใช้สาย RG-8 ยาวประมาณ 8 เมตร
ความถี่ (MHz)
145 = 1:1.0
146 = 1:1.1
147 = 1:1.1
148 = 1:1.3
4. เกิดความมั่นใจไปซื้อสาย RG-6/U มาเพื่อทำเป็น 3 ห่วง(ทนหายห่วง) ทดลองตัดครั้งแรกสายเฟสยาว 241 cm แต่ SWR ไปลง 1:1 ที่ความถี่ 147 MHz และที่ 144 MHz ขึ้นไปค่อนข้างสูงคือ 1:1.45 ยังไม่พอใจเท่าไหร่จึงทดลองตัดสายเฟสออก 5 cm เพื่อหวังจะปรับความถี่กลางให้ต่ำลงมา ปรากฏว่าได้ SWR ที่ความถี่ 144 MHz ลงมาเท่ากับ 1:1.3 แต่ความถี่ 147 MHz กลับไม่ลงดีเหมือนเดิมคือสูงขึ้นมาเป็น 1:1.1 แต่ก็พอใจที่ความถี่ 144 MHz มีค่าดีขึ้น แต่การตัดต่อสายครั้งที่ 2 นี้ ทำได้ไม่ดีเท่าครั้งแรกเนื่องจากครั้งแรกเราตัดต่อสายบนโต๊ะซึ่งสามารถทำงานได้อย่างปราณีตกว่า แต่ครั้งที่สองนี้สายเฟสได้ถูกติดตั้งบนเสาไปแล้วเวลาตัดต่อสายทำได้ลำบากกว่า
ค่า SWR 3 ห่วงเมื่อติดตั้งบนระเบียนบ้านชั้น 2 สูงจากพื้นดินประมาณ 5 เมตร ใช้สาย RG-8 ยาวประมาณ 8 เมตร
ความถี่ (MHz)
SWR 143 = 1:1.4
144 = 1:1.3
145 = 1:1.1
147 = 1:1.1
148 = 1:1.2
ต้องลองทดสอบค่า SWR อีกครั้งหลังจากติดตั้งเสาให้สูงจากพื้นดินให้สูงกว่านี้และให้พ้นสิ่งกีดขวาง ซึ่งคิดว่าคงทำให้ค่า SWR ลงต่ำกว่านี้ได้อีกนิดหน่อย จากการวิเคราะห์แล้วพบว่าที่ไม่สามารถทำให้แมตช์ได้ที่ความถี่กลางที่ต้องการนั้นคงเนื่องจากความยาวห่วงสั้นเกินไปเนื่องจากตอนดัดห่วงวัดความยาวจากขอบถึงขอบห่วง แต่ตอนคำนวณในโปรแกรมนั้นคิดจากกึ่งกลางขอบห่วง
หลังจากติดตั้งจริงที่ความสูงวัดจากห่วงล่างสุดประมาณ 10 เมตร ใช้สายนำสัญญาณ RG-8 ยาวประมาณ 18 เมตร ได้ค่า SWR ดังตารางข้างล่าง ซึ่งค่า SWR ต่ำลงเนื่องจากความสูญเสียของสายนำสัญญาณเพราะค่า SWR ที่อ่านได้เป็นค่า SWR เสมือนที่ reflect power ถูกลดทอนด้วยสายนำสัญญาณ และพอจะสรุปได้ว่าน่าจะได้ค่าใกล้เคียงกับตอนที่ตั้งอยู่บนระเบียงชั้น 2 ต่างจากที่เคยทำสายอากาศประเภทรอบตัวที่ตอนทดสอบอยู่ข้างล่างได้ SWR ค่าหนึ่งแต่พอยกขึ้นไปติดตั้งจริงเป็นอีกค่าหนึ่งซึ่งต่างกันพอสมควร
ความถี่ (MHz)
SWR 143 = 1:1.3
144 = 1:1.2
145 = 1:1.0
146 = 1:1.0
147 = 1:1.0
148 = 1:1.1
เทคนิคการสร้างฉบับ HS4LUP
ออกตัวก่อนว่าเป็นคนที่ไม่มีทักษะเชิงช่างมากเท่าไหร่คือพอทำได้บ้างแต่ไม่สวยงามนัก อยากขอแนะนำการเข้าสาย RG-6/U หรือสายประเภทอื่นที่ชีลด์ไม่สามารถบัดกรีติดได้เนื่องจากสายรุ่นใหม่ๆ ราคาถูกจะไม่ใช่ชีลด์ทองแดง แต่จะทำจากอะลูมิเนียมผสมแมกนีเซียมซึ่งไม่สามารถบัดกรีติด ผมใช้วิธีใช้ลวดสายไฟทองแดงพันรอบชีลด์บิดให้แน่นแต่อย่ามากไปจนทำให้อินเนอร์โฟมเสียรูป แล้วบัดกรีกันคลายตัวแล้วจึงต่อกับหางปลา (รูปไม่ชัดเพราะถ่ายจากมือถือ)
รูปการเข้าสาย RG-6/U
รูปการเชื่อมต่อสาย Twelfth-wave Transformer
วิธีเก็บสายเฟสให้เก็บไว้หลังบูมด้านตรงข้ามกับห่วงผมใช้เข็มขัดรัดสายไฟฟ้าบ้าน หรือที่เรียกว่ากิ๊ปรัดสายเบอร์ 4 ต่อกัน 2 อันรัดแล้วแน่นหนาดี ราคาถูกด้วย ใครจะใช้แผ่นอะลูมิเนียมรัดตามแบบฉบับก็ได้ไม่ว่ากัน ซึ่งผมก็ใช้เป็นบางจุดที่ต้องการความแน่นหนาคือช่วงที่เป็นสาย RG-11 และ RG-8
สรุปผลการทดลอง
1. ค่าอิมพิแดนซ์จากโปรแกรมกับที่สร้างจริงมีค่าแตกต่างกัน ต้องศึกษาวิธีการสร้างโมเดลให้มีผลที่ถูกต้องกับของจริงให้มากขึ้น
2. ความยาวห่วงสั้นเกินไปทำให้ไปแมตช์ลงที่ความถี่ค่อนข้างสูง การใช้สายเฟสช่วยแมตช์จะทำได้ดีเมื่อเป็น 2 ห่วง แต่เมื่อเป็น 3 ห่วงแล้วทำให้แมตช์ยากขึ้น จากการทดลองทำ 2 ห่วงพบว่าสามารถที่จะสร้าง 4 ห่วงโดยใช้พื้นฐานจาก 2 ห่วงได้โดยง่าย ความยาวห่วงที่เหมาะสมควรจะยาวประมาณ 94 cm
3. การเก็บสายนำสัญญาณควรเก็บให้แนบหลังบูมอย่าให้สายหักงอ เพราะหากเก็บสายไม่ดีจะทำให้ SWR สูงขึ้นมาได้
4. หากไม่อยากใช้ Twelfth-wave tranformer เพื่อแมตช์ สามารถทำได้โดยจัดให้ห่วงแต่ละห่วงมีอิมพิแดนซ์ประมาณ 150 Ω โดยเพิ่มระยะแขนให้มากขึ้น เมื่อรวมกัน 3 ห่วงจะสามารถแมตซ์ได้ง่ายขึ้นแต่จะทำให้สูญเสียอัตราขยายด้านหลังไป
ก็หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกที่มีความสนใจทดลองสายอากาศบ้างนะครับ กับการทดลองทำแบบสายอากาศแปลกๆ ที่ไม่ค่อยพบเห็นกันบ่อยนัก การแมตช์แบบแปลกๆ การสร้างโดยใช้วัสดุที่เรียบง่ายอย่างพอเพียง และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำนวณ ท่านใดทดลองแล้วได้ผลอย่างไรก็กลับมาแบ่งปันกันบ้างนะครับ QRU 73 ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551
โครงการสัมมณาทางวิชการ(ตัวอย่าง)
ความสำคัญของการพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีเพิ่มขึ้นทุกวัน และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็น ต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจในปัจจุบัน เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ อินเทอร์เน็ต การประชุมวิดีโอทางไกล ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ เป็นต้น
จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างไร
๑.การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร
๒. การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร
๓. การสื่อสารภายในองค์กร
๔. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน
๕.การพัฒนาความสามารถในการทำงาน
๖. การสร้างสังคมแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้
๗. การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน
ดังนั้น จึงควรมีการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้เพื่อช่วยในการพัฒนาองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์ได้ยากอย่างปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาองค์กรให้สำเร็จก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของปัจจัยภายในองค์กรหลายด้าน
คนใช้เทคโนโลยี หรือ คน (รับ) ใช้เทคโนโลยี
ทุกวันนี้การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานดูจะเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว หลายๆองค์การหรือหน่วยงาน พยายามนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดภาระการทำงานของพนักงาน แต่บางองค์การหรือบางหน่วยงานกลับประสบปัญหามากขึ้นภายหลังจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
ในการทำงานใดๆ ผลของงานจะเกิดขึ้นได้จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆคือ
(หลายคนก็อาจจะอ้างว่า เดี๋ยวนี้มีระบบอัตโนมัติแล้ว แต่ก็ต้องไม่ลืมนะครับว่าระบบอัตโนมัติใดๆ ก็ต้องมีผู้เริ่มต้นระบบ (System Initialization) ดูอย่างนาฬิกาปลุกซีครับ มันยังปลุกเองไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ตั้งเวลาไว้ก่อน)
การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานเป็นสิ่งที่ดีและสมควรทำเป็นอย่างยิ่ง การเลือกใช้อย่างเหมาะสมจะช่วยลดภาระของ "คน" และ "องค์การ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนหรือเลือกใช้เฟือง "เทคโนโลยี" ที่เหมาะสมจะช่วยขับเคลื่อนองค์การไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
มารยาท การใช้เทคโนโลยี กับ การทำงาน
เทคโนโลยีได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและสร้างประสิทธิผลในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ สปีกเกอร์โฟน วอยซ์เมล
อีเมล และแฟกซ์ เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะเห็นเจ้าอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ตามสำนักงานทุกแห่ง
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คุณตะลุยใช้งานมันได้อย่างสะดวกง่ายดายเท่านั้น
แต่ยังคงมีกติกาควรปฏิบัติที่คุณผู้ใช้เองควรรับรู้ไว้ เพื่อดึงความสามารถที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งอย่างพอเหมาะพอดี
เทคนิคการพัฒนาตนเอง
ในชีวิตของคนทุกคนย่อมหนีไม่พ้น “คำถาม” และ “คำตอบ” คนส่วนมากมักจะมีคำตอบมากกว่าคำถาม คนบางคนมีคำถามมากกว่าคำตอบ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ในขณะที่คนบางคน “มีแต่คำถาม แต่ไม่มีคำตอบ” อันนี้ถือว่าชีวิตเริ่มผิดปกติจากคนทั่วไป แต่...ที่น่ากลัวมากที่สุดคือคนที่ “มีแต่คำตอบ แต่ไม่มีคำถาม”
คนที่มีแต่คำถาม แต่ไม่มีคำตอบ เป็นที่คน “พยายามคิด แต่ไม่พยายามทำ” ส่วนคนที่มีแต่คำตอบ แต่ไม่มีคำถาม คือคนที่ “พยามยามทำ แต่ไม่พยายามคิด” ซึ่งคนประเภทหลังนี้คงจะไม่แตกต่างอะไรไปจากสิ่งของที่ใครจะหยิบยก เคลื่อนย้ายไปวางที่ไหนก็ได้ จะเป็นคนที่ถูกสภาพแวดล้อมกำหนดชะตาชีวิตตลอดไป
เทคนิคการฟัง 3 มิติ
ในการบริหารงานปัจจุบัน เราจะได้ ปฏิสัมพันธ์กับคนมากมาย ส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งคือ "การฟัง" เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทำให้เรา ได้รับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ มาใช้ในการประมวลตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ยิ่งเราสามารถรับรู้ข้อมูลได้มากเท่าไหร่เราก็มีปัจจัยใช้ในการตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพ มากขึ้นเท่านั้น
เทคนิคการฟัง 3 มิติ นั่นคือการฟังให้ได้
1.เนื้อหา
2.ความรู้สึก
3.ความตั้งใจ
10 ตัวอย่างจูงใจคน
1. หัวหน้างาน กับลูกน้องต้องรู้จักสื่อสารกันให้รู้เรื่อง
2. ต้องสร้างความท้าทายให้พนักงานได้ลองสิ่งใหม่ๆ
3. พนักงานแต่ละคนสามารถใช้จุดเด่นของตัวเองให้เป็นประโยชน์กับบริษัท
4. พนักงานต้องเข้าใจวิชั่นและเป้าหมายของบริษัทอย่างชัดเจน
5. ต้องสร้างความเป็น “หุ้นส่วน” กันในทุกๆส่วนของบริษัท
6. พนักงานต้องกล้าคิดและกล้าสร้างนวัตกรรมให้กับบริษัท
7. ทั้งบริษัทต้องมีความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน
8. การบริหารบริษัทต้องเน้นความโปร่งใส สุจริต ถูกต้อง
9. บริษัทต้องผลักดันให้พนักงานรู้จักใช้เทคโนโลยี
10. ต้องเปิดให้มีเวทีในการแสดงความคิดเห็น
เมื่อเห็นไม่ตรงกัน
เราขัดแย้งกันเพราะเราเห็นไม่ตรงกันใช่หรือเปล่า เพราะเราคิดว่าความเห็นของเราถูกกว่าของคนอื่น ซึ่งของเราถูกจริงๆ นะ เขาอาจจะคิดไม่ทันหรือไม่มีข้อมูลอย่างเรา ก็ว่ากันไปนะคะ เป็นต้นว่า ลูกน้องอยากทำแบบนี้ แต่ผู้บริหารอย่างเราผู้มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวในเรื่องพวกนี้มามากกว่าเห็นว่าไม่ใช่ แต่น้องก็มั่นใจเหลือเกินว่า ไอเดียบันเจิดของเขาเยี่ยมจริงๆ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าความคิดของพี่นักบริหารอาจใช้ได้ดีกว่าในสถาน การณ์นั้น หรือที่จริงแล้วไอเดียแปลกๆ ของน้องซึ่งมาจากนอกวงการอาจให้มุมมองที่ทำให้เราปรับแนวทางให้เฉียบขึ้นได้ แต่ไม่ว่าเป็นกรณีใดถ้าขัดแย้งกันเสียแล้ว งานก็ออกไปแบบจำใจให้เกิดขึ้นได้
ขอให้ทุกท่านใช้ความเห็นอกเห็นใจกันในการทำงานไม่ว่าเราจะอยู่ในหน้าที่อะไร หน้าที่เหล่านั้นเปรียบเสมือนหัวโขนที่เราต่างสวมกันไว้ ดังคำที่ว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา
โครงการสัมมนา
เรื่อง
เทคโนโลยี กับบุคลากรเพื่อการพัฒนางานในโรงงานอุตสาหกรรม
ณ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี