วันอาทิตย์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้าตากสินปราบพม่าข้าศึกราบคาบแล้วกองทัพของกรุงธนบุรีได้ยกลงไป
ปราบก๊กเจ้าพระยานคร ครั้นมาถึงเมืองไชยา หลวงปลัดเมืองไชยาเข้ามาสวามิภักดิ์ จึงทรงโปรดเกล้า ให้เป็น เจ้าเมืองไชยาครั้นถึงสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่ายกทัพมารตุกรานหัวเมืองปักษ์ใต้ เมืองไชยาถูก พม่าเผาเสียหายคราวนั้นด้วยจึงย้ายเมืองจากบ้านเวียงไปตั้งใหม่ที่ตำบลพุมเรียง ครั้งถึงสมัยรัชกาลที่5 เมืองไชยาได้รวมเข้าเป็น เมืองหนึ่งในมณฑลเทศาภิบาลเรียกว่ามณฑลชุมพร...........
ในส่วนของเมืองท่าทอง ในคราวที่พม่ายกทัพมารุกรานปักษ์ใต้ในสมัยรัชกาลที่ 1 ก็ถูกพม่า
ทำลายเสียหายเป็นอันมากยากแก่การบูรณะ จึงย้ายเมืองไปตั้งริมคลองกะแดะคือบริเวณ ที่ตั้งอำเภอ
กาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน เมืองท่าทองตั้งอยู่ที่นี่ไม่นานก็ย้ายไปตั้งใหม่ทีฝั่งซ้ายริมคลองท่าเพชร ต่อมาคลองท่า เพชรก็เปลี่ยนชื่อเป็นคลองท่าทองใหม่จึงเรียกเมืองใหม่ว่า เมืองท่าทองใหม่ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่4ได้
โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองท่าทองจากริมคลองท่าเพ็ชรมาตั้งที่บ้านดอน โดยมีฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรง
ต่อกรุงเทพ พร้อมพระราชทานนามใหม่ให้ว่าเมืองกาญจนดิษฐ์ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมืองกาญจนดิษฐ์
ได้รวมกับเมืองไชยารวมเรียกว่า เมืองไชยา ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในมณฑลชุมพร เมืองกาญจนดิษฐ์ จึงยุบลงโดย ปริยาย......... ในสมัยรัชกาลที่ 6ได้เสด็จประพาสเมืองไชยาที่บ้านดอนและพระราชทานนามเมืองว่า
เมืองสุราษฎร์ธานี แปลว่าเมืองคนดีตามลักษณะนิสัยของคนเมืองนี้ และทรงเปลี่ยนชื่อแม่น้ำหลวงเป็น
แม่น้ำตาปี


จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของเมืองเก่า เป็นศูนย์กลางของเมืองศรีวิชัย มีหลักฐานแสดงถึงการตั้งรกรากและเส้นทางสายไหมในอดีต พื้นที่อ่าวบ้านดอนเจริญขึ้นจนเป็นอาณาจักรศรีวิชัยในช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 13 โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องยืนยันความรุ่งเรืองในอดีต ภายหลังยังเชื่อว่า เมื่ออาณาจักรตามพรลิงก์หรือเมืองนครศรีธรรมราชมีความรุ่งเรืองมากขึ้นนั้น เมืองไชยาก็เป็นหนึ่งในเมืองสิบสองนักษัตรของเมืองนครศรีธรรมราชด้วย ชื่อว่า "เมืองบันไทยสมอ"
นอกจากนี้ในยุคใกล้เคียงกันนั้นยังพบความเจริญของเมืองที่เกิดขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตาปี ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองท่าทอง โดยเชื่อว่าเจ้าศรีธรรมาโศก ผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราชนั้นอพยพย้ายเมืองมาจากเมืองเวียงสระ เนื่องจากเป็นเมืองที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล รวมทั้งเกิดโรคภัยระบาด และเมื่อเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองนั้น ได้ยกเมืองไชยา และเมืองท่าทอง เป็นเมืองสิบสองนักษัตรของตนด้วย
ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งอู่เรื่อพระที่นั่งและเรือรบเพื่อใช้ในราชการที่อ่าวบ้านดอน ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ย้ายที่ตั้งเมืองท่าทองมายังอ่าวบ้านดอน (ซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน) พร้อมทั้งยกฐานะให้เป็นเมืองจัตวา ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และพระราชทานชื่อว่า "เมืองกาญจนดิษฐ์" โดยแต่งตั้งให้พระยากาญจนดิษฐ์บดีเป็นเจ้าเมืองดูแลการปกครอง
ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองกาญจนดิษฐ์ เมืองคีรีรัฐนิคม และเมืองไชยาเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "เมืองไชยา" ภายใต้สังกัดมณฑลชุมพร
เมื่อเมืองขยายใหญ่ขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนการปกครองและขยายเมืองออกไป มีการสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ อ่าวบ้านดอน ให้ชื่อเมืองใหม่ว่า อำเภอไชยา และให้ชื่อเมื่องเก่าว่า "อำเภอพุมเรียง" แต่เนื่องด้วยประชาชนยังติดเรียกชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" ด้วยเหตุนี้
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามเมืองใหม่ที่บ้านดอนว่า "สุราษฎร์ธานี" และให้ชื่อเมืองเก่าว่า "อำเภอไชยา" และทรงพระราชทานนามแม่น้ำตาปี ให้ในคราวเดียวกันนั้นเอง ซึ่งเป็นการตั้งชื่อตามแบบเมืองและแม่น้ำในประเทศอินเดียที่มีแม่น้ำตาปติไหลลงสู่ทะเลออกผ่านปากอ่าวที่เมืองสุราษฎร์ธานี


ที่มาของคำขวัญจังหวัดสุราษฎร์ธานี

1. เมืองร้อยเกาะ เป็นสมยานามของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีเกาะน้อยใหญ่มากมายเช่น



หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า เกาะริกัน เกาะนกเภา เกาะกล้วย เกาะพะลวย เกาะปราบ เกาะแตนหมู่เกาะอ่างทอง เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ทำให้มีนักท่องเที่ยวมากมาย หลั่งใหลกันเข้ามาเที่ยว จนทำรายใด้มากมายให้กับจังหวัด
2. เงาะอร่อย เงาะโรงเรียนมีปลูกกันมากที่อ.บ้านนาสาร โดยมีประวัติเล่าว่าเมื่อปี พ.ศ.2468มี



ต้นเงาะโรงเรียนที่สวนผมเองผลเงาะโรงเรียนที่สวนผมเช่นเคยผลเงาะโรงเรียนของสวนผม(อีกแล้วน่าเบื่อโม้อยู่ได้)





ชาวจีนสัญชาติ มาเลเซีย ชื่อนายเค วอง มีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองปีนัง ได้เดินทางเข้ามาทำเหมืองดีบุกที่หมู่บ้าน เหมืองเกาะ ต.นาสาร ได้นำเมล็ดเงาะมาปลูกข้างที่พัก ปรากฏว่ามีเงาะต้นหนึ่ง มีลักษณะต่างไป จากต้นอื่น คือมีผลกลม เนื้อกรอบ เปลือกบาง รสชาติอร่อยในปี 2497 นาย เค วอง ได้เลิกกิจการและได้ขายที่ดินให้กับกระทรวงธรรมธิการ และต่อมา ก็ได้ปรับปรุงจนเป็นโรงเรียน ชื่อโรงเรียนนาสาร ส่วนเงาะที่ปลูกไว้ก็ได้แจกจ่ายสู่ประชาชน โดยใช้ พันธุ์เดิมเรียกว่า เงาะโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้นำชาวสวนได้นำเงาะทูลเกล้าฯ ถวายเงาะโรงเรียนและขอพระราชทานชื่อพันธุ์เสียใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำรัสว่า " ชื่อเงาะโรงเรียนก็ดีอยู่แล้ว " ตั้งแต่บัดนั้นเลยได้ ชื่อเงาะโรงเรียนอย่างเป็นทางการ
3. หอยใหญ่ ในที่นี้หมายถึงหอยนางรม ซึ่งหอยนางรมสุราษฎร์ธานี เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่นักบริโภคว่าเป็นอาหารทะเลขึ้นชื่อ มีรสอร่อยชวนรับประทาน ซึ่งมีการเพาะเลียงกันมากที่ปากคลอง
กะแดะ อ.กาญจนดิษฐ์ หอยนางรมมี 2 ชนิดคือ ชนิดพันธุ์เล็ก เรียกว่า หอยเจาะ ชนิดพันธุ์ใหญ่ เรียกว่า หอยตะโกรม ลักษณะเป็นหอย 2 ฝา พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น หอนนางรมจะวางไข่ตลอดปี แต่จะพบมากในเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน และวางไข่ครั้งละ ประมาณ 1-9 ล้านฟอง
4. ไข่แดง เป็นนามเรียกลักษณะไข่เค็มไชยา ซึ่งเป็นไข่เค็มที่ทำจากไข่เป็ด ที่เลี้ยงในเขตอำเภอ



ร้านไข่เค็มที่ไชยาเจ้าเก่าแก่ดั้งเดิม


ไชยา มีลักษณะ พิเศษคือ ไข่แดง มีสีแดงจัด ไข่แดงมากกว่าไข่ทั่วไป สีสันมันวาวชวนรับประทาน เป็นสินค้าที่เป็น เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไชยา และ ชาวสุราษฎร์ธานี มีจำหน่ายทั่วไปในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะที่อำเภอไชยา
5. แหล่งธรรมะ แหล่งธรรมะที่ชาวจังหวัดสุราษฎร์ฯ ภูมิใจก็คือ สวนโมกข์พลาราม หรือวัดธารน้ำไหล



ท่านพระพุทธทาสป้ายของวัดธารนำใหลหรือสวนโมกข์


ท่านพระพุทธทาส ได้สร้างสวนโมกข์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2502 ในเนื้อที่ 375 ไร่ เป็นวัดที่ไม่มีสิ่งก่อสร้าง เป็นโบสถ์วิหาร แต่จะใช้ธรรมชาติอันร่มรื่น ทำให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งทุกแห่งในสวนโมกข์ สามารถศึกษา
ธรรมะได้อย่างเข้าใจถึงแก่นแท้ของพุทธศาสนา

ไม่มีความคิดเห็น: