วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โครงการสัมมณาทางวิชการ(ตัวอย่าง)

ความสำคัญของการพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีเพิ่มขึ้นทุกวัน และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่จำเป็น ต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจในปัจจุบัน เทคโนโลยีเหล่านี้ได้แก่ อินเทอร์เน็ต การประชุมวิดีโอทางไกล ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์และตัดสินใจ เป็นต้น

จะนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างไร

๑.การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร

๒. การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร

๓. การสื่อสารภายในองค์กร

๔. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน

๕.การพัฒนาความสามารถในการทำงาน

๖. การสร้างสังคมแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้

๗. การพัฒนาผลการปฏิบัติงาน

ดังนั้น จึงควรมีการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้เพื่อช่วยในการพัฒนาองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และคาดการณ์ได้ยากอย่างปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาองค์กรให้สำเร็จก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของปัจจัยภายในองค์กรหลายด้าน

คนใช้เทคโนโลยี หรือ คน (รับ) ใช้เทคโนโลยี

ทุกวันนี้การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานดูจะเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว หลายๆองค์การหรือหน่วยงาน พยายามนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดภาระการทำงานของพนักงาน แต่บางองค์การหรือบางหน่วยงานกลับประสบปัญหามากขึ้นภายหลังจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ในการทำงานใดๆ ผลของงานจะเกิดขึ้นได้จะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆคือ



กล่องข้อความ: พูดง่ายๆก็คือ ประกอบด้วย คน (People) กับ กระบวนการ (Process)


(หลายคนก็อาจจะอ้างว่า เดี๋ยวนี้มีระบบอัตโนมัติแล้ว แต่ก็ต้องไม่ลืมนะครับว่าระบบอัตโนมัติใดๆ ก็ต้องมีผู้เริ่มต้นระบบ (System Initialization) ดูอย่างนาฬิกาปลุกซีครับ มันยังปลุกเองไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ตั้งเวลาไว้ก่อน)

การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานเป็นสิ่งที่ดีและสมควรทำเป็นอย่างยิ่ง การเลือกใช้อย่างเหมาะสมจะช่วยลดภาระของ "คน" และ "องค์การ" ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนหรือเลือกใช้เฟือง "เทคโนโลยี" ที่เหมาะสมจะช่วยขับเคลื่อนองค์การไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

มารยาท การใช้เทคโนโลยี กับ การทำงาน

เทคโนโลยีได้กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและสร้างประสิทธิผลในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรศัพท์มือถือ สปีกเกอร์โฟน วอยซ์เมล

อีเมล และแฟกซ์ เป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะเห็นเจ้าอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ตามสำนักงานทุกแห่ง

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้คุณตะลุยใช้งานมันได้อย่างสะดวกง่ายดายเท่านั้น

แต่ยังคงมีกติกาควรปฏิบัติที่คุณผู้ใช้เองควรรับรู้ไว้ เพื่อดึงความสามารถที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งอย่างพอเหมาะพอดี

เทคนิคการพัฒนาตนเอง

ในชีวิตของคนทุกคนย่อมหนีไม่พ้น คำถาม และ คำตอบ คนส่วนมากมักจะมีคำตอบมากกว่าคำถาม คนบางคนมีคำถามมากกว่าคำตอบ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ในขณะที่คนบางคน มีแต่คำถาม แต่ไม่มีคำตอบ อันนี้ถือว่าชีวิตเริ่มผิดปกติจากคนทั่วไป แต่...ที่น่ากลัวมากที่สุดคือคนที่ มีแต่คำตอบ แต่ไม่มีคำถาม

คนที่มีแต่คำถาม แต่ไม่มีคำตอบ เป็นที่คน พยายามคิด แต่ไม่พยายามทำ ส่วนคนที่มีแต่คำตอบ แต่ไม่มีคำถาม คือคนที่ พยามยามทำ แต่ไม่พยายามคิด ซึ่งคนประเภทหลังนี้คงจะไม่แตกต่างอะไรไปจากสิ่งของที่ใครจะหยิบยก เคลื่อนย้ายไปวางที่ไหนก็ได้ จะเป็นคนที่ถูกสภาพแวดล้อมกำหนดชะตาชีวิตตลอดไป

เทคนิคการฟัง 3 มิติ

ในการบริหารงานปัจจุบัน เราจะได้ ปฏิสัมพันธ์กับคนมากมาย ส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งคือ "การฟัง" เนื่องจากเป็นวิธีการที่ทำให้เรา ได้รับข้อมูลเนื้อหาต่างๆ มาใช้ในการประมวลตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ยิ่งเราสามารถรับรู้ข้อมูลได้มากเท่าไหร่เราก็มีปัจจัยใช้ในการตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพ มากขึ้นเท่านั้น

เทคนิคการฟัง 3 มิติ นั่นคือการฟังให้ได้

1.เนื้อหา

2.ความรู้สึก

3.ความตั้งใจ

10 ตัวอย่างจูงใจคน

1. หัวหน้างาน กับลูกน้องต้องรู้จักสื่อสารกันให้รู้เรื่อง

2. ต้องสร้างความท้าทายให้พนักงานได้ลองสิ่งใหม่ๆ

3. พนักงานแต่ละคนสามารถใช้จุดเด่นของตัวเองให้เป็นประโยชน์กับบริษัท

4. พนักงานต้องเข้าใจวิชั่นและเป้าหมายของบริษัทอย่างชัดเจน

5. ต้องสร้างความเป็นหุ้นส่วนกันในทุกๆส่วนของบริษัท

6. พนักงานต้องกล้าคิดและกล้าสร้างนวัตกรรมให้กับบริษัท

7. ทั้งบริษัทต้องมีความรู้สึกเป็นครอบครัวเดียวกัน

8. การบริหารบริษัทต้องเน้นความโปร่งใส สุจริต ถูกต้อง

9. บริษัทต้องผลักดันให้พนักงานรู้จักใช้เทคโนโลยี

10. ต้องเปิดให้มีเวทีในการแสดงความคิดเห็น

เมื่อเห็นไม่ตรงกัน

เราขัดแย้งกันเพราะเราเห็นไม่ตรงกันใช่หรือเปล่า เพราะเราคิดว่าความเห็นของเราถูกกว่าของคนอื่น ซึ่งของเราถูกจริงๆ นะ เขาอาจจะคิดไม่ทันหรือไม่มีข้อมูลอย่างเรา ก็ว่ากันไปนะคะ เป็นต้นว่า ลูกน้องอยากทำแบบนี้ แต่ผู้บริหารอย่างเราผู้มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวในเรื่องพวกนี้มามากกว่าเห็นว่าไม่ใช่ แต่น้องก็มั่นใจเหลือเกินว่า ไอเดียบันเจิดของเขาเยี่ยมจริงๆ ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าความคิดของพี่นักบริหารอาจใช้ได้ดีกว่าในสถาน การณ์นั้น หรือที่จริงแล้วไอเดียแปลกๆ ของน้องซึ่งมาจากนอกวงการอาจให้มุมมองที่ทำให้เราปรับแนวทางให้เฉียบขึ้นได้ แต่ไม่ว่าเป็นกรณีใดถ้าขัดแย้งกันเสียแล้ว งานก็ออกไปแบบจำใจให้เกิดขึ้นได้

ขอให้ทุกท่านใช้ความเห็นอกเห็นใจกันในการทำงานไม่ว่าเราจะอยู่ในหน้าที่อะไร หน้าที่เหล่านั้นเปรียบเสมือนหัวโขนที่เราต่างสวมกันไว้ ดังคำที่ว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา

โครงการสัมมนา

เรื่อง

เทคโนโลยี กับบุคลากรเพื่อการพัฒนางานในโรงงานอุตสาหกรรม

ณ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี


ไม่มีความคิดเห็น: